เครื่องคังเก้นกับสถานการณ์น้ำประปาเค็มในปัจจุบัน

         ช่วงนี้หลายๆคนได้สอบถามกันเข้ามามากว่า   เครื่องคังเก้นสามารถกรองความเค็มออกจากน้ำประปาได้หรือเปล่า   เนื่องจากทุกคนกำลังเป็นห่วงกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ว่า   น้ำประปาของเรากำลังเจอภาวะน้ำทะเลหนุนสูง  จนมีรสกร่อย

         ก็ขอตอบคำถามนี้ก่อนนะคะว่า “ไม่ได้”    ไส้กรองของเครื่องคังเก้นสามารถกรองคลอรีนและสารตะกั่วในน้ำ  แต่ไม่สามารถกรองเอาเกลือ (โซเดียม) ออกได้    เช่นเดียวกับเครื่องกรองยี่ห้ออื่นๆก็ไม่สามารถกรองโซเดียมออกได้เช่นเดียวกัน   ยกเว้นเครื่องกรองชนิด RO หรือ Reverse Osmosis

         เครื่องคังเก้น  ทำหน้าที่ปรับน้ำให้มีคุณสมบัติที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย  ซึ่งเครื่องกรองน้ำทำไม่ได้  คือ  ปรับให้น้ำมีพีเอชเป็นด่าง, มีการดูดซึมเข้าเซลล์มากและรวดเร็ว  และที่สำคัญที่สุด คือ ทำให้น้ำมีประจุลบด้วยอีเล็คตรอน และมีแก๊สไฮโดรเจนสูง  ซึ่งมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ  ต้านการอักเสบ  ต้าน Oxidative Stress ที่ดีที่สุด

         แล้วเราจะต้องกังวลกับสถานการณ์น้ำประปากร่อยในปัจจุบันมั๊ย   ก็ขอเอาคำตอบของ พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย  ที่ได้ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2020 คือเมื่อวานนี้ว่า

         “ผู้ที่บริโภคน้ำประปาเป็นประจำอาจจะรับรู้ถึงรสชาติที่เปลี่ยนไปจากปกติในบางครั้ง โดยความเค็มดังกล่าวมาจากเกลือโซเดียมคลอไรด์หรือเกลือแกงที่ใช้ปรุงอาหาร ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดค่าแนะนำเพื่อความน่าดื่มและการยอมรับของผู้บริโภคไว้ คือ ในน้ำประปา ควรมีโซเดียมไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อลิตร และคลอไรด์ไม่เกิน 250 มิลลิกรัมต่อลิตร แต่ถ้าเจือปนในน้ำมากเกินไปจะทำให้น้ำมีรสกร่อยถึงเค็มได้ ซึ่งทางโภชนาการและการแพทย์แนะนำว่า มนุษย์ควรรับโซเดียมเข้าสู่ร่างกายไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยปัจจุบันน้ำประปามีโซเดียมประมาณ 100-150 มิลลิกรัมต่อลิตร จึงเป็นไปไม่ได้ที่คนปกติจะดื่มน้ำประปาจนได้รับโซเดียมเกินกว่าที่กำหนด”

         จากคำกล่าวของ พญ.พรรณพิมล ข้างต้นที่ว่า  “เราควรจำกัดโซเดียมเข้าสู่ร่างกายไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน”  และ  “ปัจจุบันน้ำประปามีโซเดียมประมาณ 100-150 มิลลิกรัมต่อลิตร”    นั่นหมายความว่า  หากเราดื่มน้ำประปา (คนที่ดื่มน้ำประปาต้ม) หรือน้ำคังเก้น (ซึ่งใช้น้ำประปาเข้าเครื่อง) เกิน 13 ลิตร/วัน   จะทำให้เราได้รับโซเดียมจากน้ำประปาเกินกำหนดที่แพทย์แนะนำ      13 ลิตร!!  ไม่มีใครดื่มน้ำ 13 ลิตรต่อวัน    เพราะฉะนั้น  ผู้ที่ใช้เครื่องคังเก้นอยู่  ไม่ต้องตื่นตกใจ  คุณยังสามารถดื่มน้ำคังเก้นที่มีสรรพคุณมากมายได้อย่างปกติค่ะ  ไม่ต้องกังวลกับสถานการณ์น้ำประปาในปัจจุบัน

         แต่อย่างไรก็ตาม  พญ.พรรณพิมล  ได้กล่าวเตือนเฉพาะในคนกลุ่มเสี่ยง  คือ กลุ่มผู้ป่วยโรคไต เพราะหากดื่มน้ำประปาที่มีความเค็มจะทำให้ได้รับโซเดียมเพิ่มขึ้นจากปกติได้ 

         ดังนั้น  หากคุณไม่ได้เป็นโรคไต  ไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำประปากร่อยในปัจจุบันเลย   แต่หากคุณยังมีความกังวลอยู่  เรามีคำแนะนำดังนี้ ค่ะ

  1. แทนที่เราจะไปกังวลกับปริมาณโซเดียมในน้ำประปา  ซึ่งเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ (ให้กรมประปา  เขากังวลดีกว่าว่าจะแก้สถานการณ์ให้เร็วที่สุดอย่างไร   เพราะเราแก้ปัญหาแทนกรมประปาไม่ได้)   ให้เรามากังวลกับสิ่งที่เราควบคุมได้ดีกว่า  คือ  ปริมาณโซเดียมในอาหารที่เรารับประทานนี่แหละ 

         ควรลดปริมาณสารปรุงแต่งอาหารที่มีความเค็มลง เช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ้ว ซอสปรุงรส  ผงปรุงรส     แต่โซเดียมก็ซ่อนอยู่ในอาหารที่ไม่ได้มีรสเค็มเช่นเดียวกัน  เช่น ผงชูรส (โมโนโซเดียมกลูตาเมต)  งดการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ขนมกรุบกรอบ มันฝรั่งทอด   รวมทั้งขนมปัง  เพราะมี ผงฟู (โซเดียมไบคาร์บอเนต)  และยาบางชนิดก็มีเกลือโซเดียมเช่นเดียวกัน  เช่น อีโน ที่แก้ท้องอืด  นั่นก็คือ โซเดียมไบคาร์บอเนต

 

         อย่างที่เราเคยได้ยินกัน   ในวิกฤติ ย่อมมีโอกาสเสมอ     การที่มีสถานการณ์น้ำประปาเค็ม  ก็ทำให้คนมาระมัดระวังเรื่องโซเดียมกันมากขึ้น   แต่อย่างที่บอกค่ะว่า  โซเดียมในอาหารต่างหากเป็นสิ่งที่ควรระวัง  ไม่ใช่โซเดียมในน้ำ

2. เพิ่มการรับประทานอาหารที่มี “โปแตสเซียม”

         ปกติไตของเราจะทำหน้าที่กำจัด โซเดียม ที่มากเกินไปออกจากร่างกายทางปัสสาวะอยู่แล้ว  แต่การที่จะขับ โซเดียมออก  ไตต้องดึงเอาโปแตสเซียมออกไปด้วย   ดังนั้น  หากร่างกายมีระดับโปแตสเซียมต่ำ  ร่างกายจะพยายามรักษาโปแตสเซียมไว้  นั่นคือ  โซเดียมจะไม่ถูกกำจัดออกไป   ดังนั้น  หากเราเพิ่มการรับประทานอาหารที่มี โปแตสเซียมสูง  จะทำให้ร่างกายขับโซเดียมออกได้มากขึ้นด้วย   อาหารที่มีโปแตสเซียมสูง  ได้แก่ถั่วเมล็ดแห้ง นมและผลิตภัณฑ์จากนม ทุเรียน กล้วย ลำไย ผลไม้แห้งต่างๆ เช่น ลูกเกด ลูกพรุน แครอท มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า หัวปลี ผักชี มันฝรั่ง

3. ดื่มน้ำให้มากขึ้น

         อย่างที่พูดไปแล้วข้างต้นว่า   ร่างกายจะขับโซเดียมออกทางปัสสาวะ   ดังนั้น  หากเราดื่มน้ำน้อย  เราก็จะปัสสาวะน้อย  ทำให้มีการขับโซเดียมออกน้อยตามไปด้วยตามไปด้วย

         และนอกจากนี้   การที่เซลล์ของร่างกายขาดน้ำนี่เอง  เป็นสาเหตุให้เกิดอาการ “บวมน้ำที่ขา”  ใช่แล้ว  เกิดจากการขาดน้ำ  ไม่ใช่โซเดียมเกิน

         จากการวิจัยของ Dr. F. Batmanghelidj ผู้ที่ใช้น้ำรักษาคนไข้  และผู้แต่งหนังสือเกี่ยวกับน้ำหลายเล่ม  ได้พบว่า

        ปริมาณน้ำที่ควรดื่มต่อวัน เมื่อร่างกายรับรู้ว่า  เซลล์ได้รับน้ำไม่เพียงพอ   ร่างกายจะมีกลไกให้เก็บกักน้ำไว้   แต่เราไม่เหมือนอูฐ   เราไม่มีหนอกที่จะเก็บน้ำไว้ใช้   เราเก็บน้ำไว้ที่ขาของเราแทน   

         เมื่อเราดื่มน้ำให้มากพอ   อาการบวมน้ำที่ขาก็จะหายไปเอง  ไม่ต้องใช้ยาขับปัสสาวะ (ยิ่งทำให้ร่างกายขาดน้ำ)    ดังนั้น  ถึงเวลาที่เราจะดื่มน้ำให้มากขึ้นหรือยัง    ไม่ว่าคุณจะดื่มน้ำคังเก้นหรือไม่ก็ตาม

4. หากคุณเป็นคนกลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังเรื่องปริมาณโซเดียมในอาหารมาก   อาจหา Saltmeter อุปกรณ์วัดความเค็มในน้ำ  มาตรวจวัดปริมาณโซเดียมในอาหารได้

5. ตรวจวัดสมดุลเกลือแร่ โซเดียม/โปแตสเซียมในร่างกาย

         ปัจจุบัน  มีเครื่องมือที่ทันสมัย ที่ใช้ในการประเมินสุขภาพเบื้องต้นได้     OligoScan เครื่อง spectrophotometer ที่ใช้ในการประเมินค่าแร่ธาตุ, สารพิษโลหะหนักที่สะสมอยู่ในเซลล์ และสามารถประเมินค่า oxidative stress ที่เกิดขึ้นในร่างกาย   ทำให้เรานำผลการตรวจวัดมาประเมินการป้องกันสุขภาพของตนเองได้

6 Shares