หากปัสสาวะคุณไม่เป็นด่างในตอนบ่าย 2 แสดงว่าร่างกายคุณเป็นกรดแน่นอน

         พีเอช (pH): ย่อมาจาก  potential of hydrogen     การวัดค่าพีเอชของของเหลวใดๆ  จึงเป็นการวัดความเข้มข้นของ hydrogen-ion (H+) ในของเหลวนั้น     ค่าพีเอชยิ่งสูงเท่าใด  แสดงว่าของเหลวนั้นเป็นด่าง และมีอ็อกซิเจนสูงเท่านั้น     หากค่าพีเอช มีค่าต่ำ   แสดงว่าของเหลวนั้นยิ่งเป็นกรด และอ็อกซิเจนน้อยเท่านั้น     ค่าพีเอช มีตั้งแต่ 0- 14   โดยพีเอช 7.0 คือมีพีเอชเป็นกลาง    ถ้าพีเอชมากกว่า 7.0 แสดงว่าเป็นด่าง    หากพีเอชต่ำกว่า 7.0 แสดงว่าเป็นกรด

         ค่าพีเอชของเลือดเรานั้น  จะอยู่ในช่วงที่แคบมากๆ (ประมาณ 7.35 – 7.45 )    หากต่ำหรือสูงกว่านี้  จะมีอาการ หรือโรคเกิดขึ้น     หากพีเอชของเลือดต่ำกว่า 6.8 หรือสูงกว่า 7.8   เซลล์จะหยุดทำงาน และคนๆนั้นจะตาย     พีเอชของเลือดที่เหมาะสมที่สุด  คือ 7.4

         พีเอชในทางเดินอาหารแต่ละส่วน  มีความแตกต่างกันมาก (ดูภาพด้านขวามือ)     พีเอชของน้ำลายจะอยู่ที่ประมาณ 6.5 – 7.5     หลังจากที่เราเคี้ยวอาหาร และกลืนอาหารลงไป   อาหารจะเข้าไปที่กระเพาะอาหารส่วนบน  ซึ่งมีพีเอชประมาณ  4.0 – 6.5

         หลังจากนั้นอาหารจะเข้าไปที่กระเพาะอาหารส่วนล่าง  ซึ่งจะมีการหลั่งกรดไฮโดรคลอริก (hydrochloric acid -HCl) และเป็บซิน (pepsin)  จนมีพีเอชอยู่ระหว่าง 1.5 – 4.0

         หลังจากที่อาหารได้คละเคล้ากับน้ำย่อยเหล่านี้แล้ว  จะผ่านเข้าไปในส่วนลำไส้เล็กส่วนต้น  ซึ่งพีเอชจะเปลี่ยนไปสู่ระดับ  7.0 – 8.5   ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการดูดซึมสารอาหารถึง 90%     

         หลังจากนั้น  ของที่เหลือจะผ่านไปสู่ลำไส้ใหญ่ ซึ่งมีพีเอชประมาณ  4.0 – 7.0

         หากคุณกำลังมีปัญหาสุขภาพอยู่    เป็นไปได้ว่าร่างกายคุณกำลังมีสภาวะเป็นกรด     การวิจัยแสดงให้เห็นว่า  ถ้าร่างกายไม่อยู่ในสภาวะเป็นด่างอ่อนๆ   ร่างกายจะไม่สามารถรักษาเยียวยาตัวเองได้    ดังนั้น   ไม่ว่าคุณจะเลือกใช้อะไรเป็นตัวช่วยในการดูแลปัญหาสุขภาพของคุณก็ตาม   มันจะไม่มีประสิทธิภาพ  หากพีเอชของร่างกายคุณไม่เหมาะสม    ร่างกายคุณจะไม่สามารถใช้ประโยชน์จากวิตามินเกลือแร่ที่คุณรับประทานเสริม     พีเอชของร่างกาย  มีผลต่อทุกสิ่งทุกอย่าง

“ร่างกายจะสามารถรักษาซ่อมแซมตัวเองจากโรคภัยไข้เจ็บเรื้อรังต่างๆได้  ก็ต่อเมื่อ  พีเอชของเลือดอยู่ในช่วงที่เหมาะสม  นั่นคือ เป็นด่างอ่อนๆ”

         ร่างกายมนุษย์  ต้องมีพีเอชอยู่ในระดับที่สมดุลย์  เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆในโลก   ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง     ระดับความเป็นกรด-ด่าง ในร่างกายมีความสำคัญอย่างยิ่ง  เพราะการศึกษาวิจัยได้พิสูจน์แล้วว่า  โรคทั้งหลายไม่สามารถอยู่ได้ในสภาวะที่ร่างกายเป็นด่าง  แต่จะแพร่กระจายได้ดีในสภาวะร่างกายที่เป็นกรด

         ความจริงก็คือ  เราทุกคนมีความต้องการสารอาหารที่แตกต่างกัน   แต่เรามีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน  คือ  เราจำเป็นต้องมีพีเอชของเลือดที่เป็นด่าง  จึงจะมีสุขภาพที่แข็งแรงได้

         หากร่างกายอยู่ในสภาวะเป็นกรด  จะเกิดอะไรขึ้น:

  • ประสิทธิภาพในการดูดซึมสารอาหารจะลดลง
  • การสร้างพลังงานระดับเซลล์ลดลง
  • ประสิทธิภาพในการซ่อมแซมเซลล์เสื่อมลดลง
  • ความสามารถในการกำจัดสารพิษโลหะหนักออกจากร่างกาย จะลดลง
  • เซลล์มะเร็งและเนื้องอกจะแพร่กระจายเร็ว
  • ร่างกายจะเจ็บป่วยง่าย และเหนื่อยล้า

         การที่ร่างกายอยู่ในสภาวะที่เป็นกรดนั้น  เกิดจาก  รับประทานอาหารที่ทำให้ร่างกายเป็นกรด, ความเครียด, สารพิษสะสม และ/หรือ ปฏิกิริยาของภูมิคุ้มกัน หรือการกระทำใดๆก็ตามที่ทำให้ระดับอ็อกซิเจนในเซลล์ลดลง และการขาดสารอาหาร     ร่างกายจะต้องพยายามทำพีเอชให้สมดุลย์  โดยการใช้เกลือแร่ที่เป็นด่าง     หากในอาหารมีปริมาณเกลือแร่ไม่เพียงพอ   ของเสียที่เป็นกรดเหล่านั้นก็จะสะสมอยู่ในเซลล์  ก่อให้เกิดปัญหาในอนาคต

         มีปัจจัย 2 อย่างที่จะเกิดขึ้นพร้อมกับมะเร็งเสมอ  คือ  พีเอชเป็นกรด และขาดอ็อกซิเจน     เราจะทำอะไรกับสองสิ่งนี้  เพื่อให้มะเร็งหายไปได้หรือไม่

 

         มะเร็ง  ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นกรด และอ็อกซิเจนต่ำ  จึงจะเจริญเติบโตได้     ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย  ร่างกายจะมีความเป็นกรดมากกว่าคนปกติประมาณ 1000 เท่า   มีพีเอชของร่างกายต่ำมาก   ทำไม?

        เมื่อไม่มีอ็อกซิเจน   กลูโคสจะเกิดขบวนการหมัก (fermentation) เกิดกรดแลกติก (lactic acid) ขึ้น    นี่เองทำให้พีเอชของเซลล์ลดลง จาก 7.3 เหลือ 7.2 ลดลงมาเหลือ 7 และลดต่ำลงจนเหลือ 6.5      ในมะเร็งระยะลุกลาม หรือแพร่กระจาย   พีเอชของเซลล์อาจลดลงไปถึง 6.0 และบางครั้ง 5.7 หรือต่ำกว่านี้อีก     ร่างกายของเราจะไม่สามารถต่อสู้กับโรคใดๆได้เลย   หากพีเอชของร่างกายไม่อยู่ในสภาวะที่สมดุลย์

        เซลล์ปกติของมนุษย์  มีอ็อกซิเจนมากมาย และมีพีเอชเป็นด่างอ่อนๆ     เซลล์มะเร็งมีพีเอชเป็นกรด และขาดอ็อกซิเจน     เซลล์มะเร็งอยู่ไม่ได้ในสภพแวดล้อมที่มีอ็อกซิเจนสูง     เมื่อพีเอชสูงกว่า 7.4 เล็กน้อย  เซลล์มะเร็งจะหยุดการเจริญเติบโต     ที่พีเอช 8.5   เซลล์มะเร็งจะตาย  ในขณะที่เซลล์ปกติอยู่รอด     ยิ่งค่าพีเอชสูงขึ้น  หมายถึงความเป็นด่างและอ็อกซิเจนเพิ่มมากขึ้นด้วย

         มะเร็งและโรคทุกชนิด  เกลียดอ็อกซิเจนและสมดุลย์พีเอช    ดังนั้น  พีเอชของเลือดที่เหมาะสม ( 7.35 – 7.45 ) มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อสุขภาพโดยรวมของร่างกาย   … alkalize or die

         อย่าลืมว่า  พีเอชที่ต่างกันเพียง 1 พีเอช  หมายถึงความแตกต่างในเรื่องของอ็อกซิเจน และไฮดร็อกไซด์ไอออน (OH-ions) ถึง 10 เท่า     หากค่าพีเอชต่างกัน 2  หมายถึงมีความแตกต่างในปริมาณ OH-ions ถึง 100 เท่า     เลือดที่มีพีเอช 7.45 จะมีปริมาณอ็อกซิเจนมากกว่าเลือดพีเอช 7.30 ถึง 64.9% 

รูปของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่สุขภาพดี

โดยปกติ เม็ดเลือดแดงมีประจุลบอยู่ด้านนอกเซลล์ และประจุบวกอยู่ด้านในเซลล์ ประจุลบของแต่ละเซลล์จะผลักกัน เม็ดเลือดแดงจึงอยู่ห่างจากกัน ในกรณีที่ร่างกายมีความเป็นกรดมากเกิน กรดนั้นจะขโมยประจุลบของเซลล์เม็ดเลือดแดง แรงผลักระหว่างเซลล์เม็ดเลือดแดงจึงลดลง และเกาะติดกันเป็นพวง

จะทดสอบพีเอชของร่างกายได้อย่างไร...

         “เมื่อคุณตื่นขึ้นในตอนเช้า   กรดทั้งหมดที่คุณรับประทานเข้าไปจากอาหาร  และที่ร่างกายสร้างขึ้นในวันก่อน  ควรจะถูกขับออกจากร่างกายได้หมดในขณะที่คุณนอนหลับ   และมาอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ  เตรียมพร้อมที่จะขับออกในปัสสาวะ     ปัสสาวะแรกหลังตื่นนอนควรที่จะมีพีเอชเป็นกรด    แต่ค่าพีเอชของปัสสาวะที่คุณควรจะตรวจคือ  ปัสสาวะครั้งที่ 2 ในตอนเช้า  ซึ่งจะเป็นค่าพีเอชของร่างกายในขณะนั้น

         ดังนั้น  ปัสสาวะครั้งที่ 2  ควรจะมีค่าพีเอชเป็นกลาง  ใกล้เคียง 7.00 (ควรมี pH 6.8)     เนื่องจากแทบทุกคนร่างกายมีภาวะเป็นกรด   จึงแทบจะไม่มีใครที่พีเอชปัสสาวะเป็น 7.0     กรดถูกสะสมอยู่ในร่างกายวันแล้ววันเล่า   ทำให้เกิดเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรัง และความเสื่อมทั้งหลาย     ถ้าร่างกายกำจัดกรดไม่หมดวันต่อวัน    กรดก็จะถูกสะสมในร่างกายมากขึ้นเรื่อยๆ

         

การตรวจพีเอชของน้ำลาย

         พีเอชของน้ำลาย  จะมีความเป็นกรดมากกว่าพีเอชของเลือด   แต่เป็นตัวสะท้อนถึงค่าพีเอชเลือดได้อย่างดี  และเป็นตัวชี้ให้เห็นถึงสุขภาพร่างกายได้อีกด้วย     พีเอชของน้ำลาย  เป็นตัวบ่งบอกสภาวะของของเหลวภายนอกเซลล์ และปริมาณเกลือแร่ที่มีฤทธิ์เป็นด่างที่ร่างกายสะสมไว้

         เด็กส่วนใหญ่  จะมีพีเอชของน้ำลายอยู่ที่  7.5   ในขณะที่ผู้ใหญ่กว่าครึ่งหนึ่ง  มีพีเอชของน้ำลายอยู่ที่  6.5 หรือต่ำกว่านั้น   ซึ่งบ่งบอกถึงการขาดแคลเซี่ยม  จากอายุที่มากขึ้น หรือจากสไตล์การใช้ชีวิต     ในผู้ป่วยมะเร็ง  มักมีพีเอชของน้ำลายประมาณ 4.5  โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในระยะสุดท้าย
The Calcium Factor: The Scientific Secret of Health and Youth,
Carl J. Reich, M.D., Gilliland Printing Inc., Arkansas City, Kansas, 1996

                  การตรวจพีเอชในปัสสาวะ

         พีเอชของปัสสาวะบ่งบอกถึง  การทำงานของร่างกายในการที่จะรักษาพีเอชของเลือดให้อยู่ในค่าที่สมดุลย์    บ่งบอกถึงวงจรในการสร้างสภาวะที่เป็นด่าง (anabolic) และวงจรในการกำจัดสภาวะที่เป็นกรด (catabolic)      พีเอชของปัสสาวะ  บอกถึงการทำงานของร่างกาย ผ่านทางไต, ต่อมหมวกไต, ปอด และอวัยวะที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์  เพื่อรักษาสมดุลย์พีเอชในร่างกาย ผ่านทางเกลือบัฟเฟอร์ต่างๆ (buffer salts) และฮอร์โมน

         ปัสสาวะ สามารถบ่งบอกถึงภาพรวมของปฏิกิริยาเคมีในร่างกายได้อย่างแม่นยำ   เนื่องจาก ไตจะทำการกรองเอาเกลือแร่ที่ทำหน้าที่บัฟเฟอร์ เพื่อควบคุมพีเอชออกมา  และเมื่อเราตรวจพีเอชของปัสสาวะ  จะได้ค่าตัวเลขที่บ่งบอกถึงสิ่งที่ร่างกายกำจัดออกมา     พีเอชของปัสสาวะอาจมีค่าแตกต่างกันได้ตั้งแต่ต่ำสุด 4.5 ไปจนถึงสูงสุด 9.0   แต่ค่าที่เหมาะสมจะอยู่ระหว่าง 6.5 – 7.0 กว่าๆ

         พีเอชของปัสสาวะ  มักมีค่าต่ำ ในตอนเช้า  และมีค่าสูงขึ้น ในตอนเย็น   และอาจเป็นผลจากกระบวนการเคมีชีวะที่ร่างกายกำลังกำจัดออก   เช่น เกลือแร่ที่มากเกิน, วิตามิน, ผลจากกระบวนการต่างๆในร่างกาย  รวมทั้งยา และสารพิษต่างๆที่ถูกขับออกจากร่างกายด้วย

         พีเอชของปัสสาวะ จะไม่ถูกกระทบจากเอ็นไซม์ช่วยย่อย เหมือนพีเอชของน้ำลาย    แต่อย่างไรก็ตาม  พีเอชของปัสสาวะ  จะมีผลกระทบจาก:

  • สารกันเสียต่างๆที่รับประทานเข้าไป
  • มลภาวะต่างๆที่หายใจเข้าไป
  • ความเครียด
  • อาหาร
  • ปริมาณน้ำที่ดื่ม
  • ปริมาณเชื้อโรคในร่างกาย
  • การพักผ่อน
  • กิจกรรมทางเคมีชีวะทั้งหมดที่เกิดขึ้นในร่างกาย

         

         โดยปกติแล้ว  เมื่อพีเอชของปัสสาวะมีตั้งแต่ค่า 6.0 ลงมา  เป็นระยะเวลานาน   จะเป็นการบ่งชี้ว่า ของเหลวในร่างกายมีความเป็นกรดมากเกิน  และร่างกายทำงานอย่างหนักในการกำจัดกรดต่างๆออกไป     เมื่อพีเอชของปัสสาวะมีค่าปกติ  แสดงว่าพีเอชของเลือดมีค่าปกติ   แต่เมื่อพีเอชของปัสสาวะมีค่าเป็นกรดมากเกิน   ร่างกายจะมีการปลดปล่อยเกลือแร่ต่างๆออกมาเป็นจำนวนมาก  เพื่อรักษาสมดุลย์ของพีเอช และเพื่อรักษาชีวิตไว้

         พีเอชของน้ำลายในคนที่ปกติแข็งแรงดี  จะอยู่ระหว่าง 7.1 – 7.5 ซึ่งเป็นด่างอ่อนๆ    หากพีเอชของน้ำลายอยู่ระหว่าง 4.5 – 6.5  แดงว่าร่างกายอยู่ในภาวะการขาดเกลือแร่อย่างมาก และน้อยลงมาตามลำดับ

         พีเอชของเลือด:
         กระแสเลือดนั้น เป็นระบบบัฟเฟอร์ที่สำคัญที่สุดในร่างกาย  มีความ sensitive มากกว่าระบบอื่นๆอย่างมาก    ทั้งเลือดแดงและเลือดดำ จะต้องมีพีเอชเป็นด่างอ่อนๆ  โดยที่ พีเอชของเลือดแดงจะ= 7.41 และพีเอชของเลือดดำจะประมาณ 7.36     เนื่องจากพีเอชของเลือดแดงอยู่ที่ 7.41   ดังนั้น  คนที่มีค่าพีเอชต่ำกว่านี้  จะถือว่าเป็นภาวะ acidosis   และหากพีเอชเกิน 7.41  จะถือว่าอยู่ในภาวะ alkalosis

                  
         ในสังคมที่มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นเท่าไร   การบริโภคโปรตีน, อาหารจานด่วน ก็กลายมาเป็นอาหารหลักในชีวิตของเรา     อาหารเหล่านี้  จะถูกเปลี่ยนเป็นสารที่มีความเป็นกรดอย่างมาก (
strong acids) ในร่างกาย  และจะต้องถูกกำจัดออกทางไต     โมเลกุลของกรดทุกๆโมเลกุลที่ผ่านออกทางไต  จะจับกับเกลือแร่ออกไปด้วย  ดังนั้น  เราจึงค่อยๆเกิดการขาดเกลือแร่ที่เป็นด่าง  ซึ่งก็คือ  ร่างกายมีสภาวะเป็นกรด

         ผลก็คือ เกิดโรคเรื้อรังที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย  ดังนั้น  กระบวนการซ่อมแซมรักษา (ไม่ว่าคุณจะมีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นก็ตาม)  เริ่มจาก “การเติมแร่ธาตุให้ร่างกาย” (REMINERALIZATION)     วิธีเดียวที่คุณจะเติมเกลือแร่ให้กับร่างกาย คือ การรับประทานผัก ผลไม้    คุณสามารถรับประทานในรูปแบบอาหารเสริม  แต่พวกนี้จะได้ผลเพียงชั่วคราว  เนื่องจากเซลล์ไม่สามารถนำไปใช้งานได้ดี

 

         พีเอชที่เหมาะสมของน้ำลาย คือ 6.4 – 6.8    วัดพีเอชของน้ำลายเป็นสิ่งแรกหลังตื่นนอน ก่อนเอาอะไรเข้าปาก  โดยใช้  PH Meter     หากวัดแล้วได้พีเอชต่ำกว่า 6.4   แสดงว่า ร่างกายมีเกลือแร่ที่เป็นด่างไม่เพียงพอ     หลังจากทานอาหารเช้าไปแล้ว 5 นาที  ให้ตรวจพีเอชของน้ำลายอีกครั้ง  ควรมีพีเอช 7.8 หรือสูงกว่า

         หากไม่เป็นไปตามนี้  แสดงว่า ร่างกายขาดเกลือแร่ที่เป็นด่าง (ส่วนมากก็คือแคลเซียมและแมกนีเซียม) และแสดงว่าร่างกายมีการย่อยและดูดซึมอาหารได้ไม่ดีนัก     หากมีพีเอชของน้ำลายไม่อยู่ในช่วงที่เหมาะสมเป็นระยะเวลานาน   โรคภัยไข้เจ็บจะเริ่มถามหา

         ภาวะ Acidosis  หมายถึง  การที่ร่างกายอยู่ในสภาพที่มีพีเอชเป็นกรดเป็นระยะเวลายาวนาน  ซึ่งสามารถส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมา  เช่น rheumatoid arthritis (ข้ออักเสบรูมาตอยด์), เบาหวาน, lupus (โรคเอสแอลอีคือโรคเรื้อรังที่เกิดจากภูมิต้านทานทำร้ายตนเองซึ่งทำให้มี ผลกระทบกับอวัยวะต่างๆในร่างกาย), tuberculosis (วัณโรค), osteoporosis (กระดูกพรุน), ความดันสูง, มะเร็ง และอื่นๆอีกมากมาย

         หากพีเอชของน้ำลายมีค่าต่ำมาก    ควรเน้นการรับประทานอาหารจำพวกผัก ผลไม้ และน้ำที่มีเกลือแร่   รวมทั้งเลิกทานอาหารที่มีความเป็นกรดสูง  เช่น โซดา  น้ำอัดลม,  โฮลวีต และเนื้อแดง

         โรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย  เริ่มจากเนื้อเยื่อต่างๆในร่างกายอยู่ในสภาวะที่ค่อนข้างเป็นกรด    เนื้อเยื่อเหล่านี้จะถูกอ็อกซิไดส์, เป็นโรค และแก่

“ในสภาวะเป็นกรดที่เรากำลังพูดถึงนี้   ไม่ได้หมายความว่าร่างกายเรา “เป็นกรด”  แต่จริงๆแล้วหมายความว่า เราขาดความเป็นด่างไป     และนี่เองเป็นเหตุผลว่า  ทำไมคนที่มีอายุ 80 หรือ 90 ปี  ร่างกายจึงหดเล็กลง    ก็เพราะว่า พวกเขาไม่มีคลังเกลือแร่สะสมในร่างกายแล้ว     เมื่อเกลือแร่ทั้งหมดสูญหายไปหมด  ก็เหมือนแบตเตอรี่ในร่างกายตายลง    เซลล์ในร่างกายนั้นมีประจุไฟฟ้า ซึ่งสามารถวัดได้เป็นค่า oxidation/reduction potential เหมือนที่วัดได้ในเลือด

         ค่าพลังงานนี้  จะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น   รวมทั้งเกลือแร่ในร่างกายด้วย    เราก็จะถูกอ็อกซิไดส์เพิ่มมากขึ้น (ร่างกายจึงต้องการสารต้านอนุมูลอิสระเพิ่มมากขึ้น)   ซึ่งสาเหตุเกิดได้จากการรับประทานโปรตีนมากเกินไป”

ทุกๆส่วนในร่างกายเรา ประกอบไปด้วยเซลล์

         Protoplasm (คือส่วนที่อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ทั้งหมด)  สร้างจากไขมัน, คาร์โบไฮเดรต, โปรตีน, เกลือ และสสารที่คล้ายๆกัน   รวมตัวกับน้ำ     น้ำทำหน้าที่เป็นตัวทำละลาย, ทำหน้าที่เป็นตัวขนส่ง, ตัวรวมสารต่างๆเข้าด้วยกัน และย่อยสลายสารเหล่านี้ในทางเคมี

         ร่างกายเราต้องการ electrolytes (เกลือแร่พวกโซเดียม, โปแตสเซียม, คลอไรด์ และไบคาร์บอเนต) ในการทำงานพื้นฐานต่างๆของร่างกาย    ในกรณีที่ร่างกายขาดน้ำ   electrolyzes เหล่านี้ก็จะขาดไปด้วย   เซลล์ของเราจะแห้งตาย    ดังนั้น  ในการที่จะรักษาเซลล์ให้มีความชุ่มชื่นอยู่ตลอด   รักษาสมดุลย์ของปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้าในร่างกาย  และเพื่อให้เรามีชีวิตอยู่ได้   เราต้องการน้ำ

         ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยน้ำ 75% โดยน้ำหนัก  ในรูปของกรด (H+/ไฮโดรเจนไอออน) และด่าง (OH-/ไฮดร็อกไซด์ไอออน)     ร่างกายที่สุขภาพดีจะมีสภาวะที่เป็นด่าง (pH >7) ซึ่งมีไฮดร็อกไซด์ไอออน (OH-)อยู่มากมาย  ซึ่งให้อ็อกซิเจนแก่ร่างกาย     อย่างไรก็ตาม  การใช้ชีวิตในปัจจุบันนี้ สร้างความเป็นกรดขึ้นในร่างกายมากเกินไป  จากความเครียด และจากสิ่งต่างๆที่เราเอาเข้าสู่ร่างกาย: อาหาร, เครื่องดื่ม, มลภาวะ และยา       กิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในร่างกาย, การกำจัดเซลล์ และการออกกำลังกาย  ก็ทำให้เกิดกรดในร่างกายเช่นเดียวกัน

         ยิ่งไปกว่านั้น   เลือดที่มีความเป็นกรด  จะแข็งตัวง่ายมาก   อาจส่งผลให้เกิด การอุดตันของหลอดเลือด และโรคหลอดเลือดสมองได้     ร่างกายมีการดึงแคลเซียม และแมกนีเซียมออกจากกระดูก, ฟัน และเส้นผม  เพื่อไปกำจัดกรด   ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุน, ฟันผุ และผมร่วงได้    และอาจเกิดนิ่วในไต, นิ่วในถุงน้ำดี และต้อกระจกได้     นอกจากนี้  กรดยูริก, กรดฟอสฟอริก และกรดซัลฤุริก  จากเนื้อสัตว์, ธัญพืช และไข่  ก็เป็นสาเหตุของโรคเก๊าท์ และโรคข้ออักเสบอื่นๆ     ไขมัน  จะถูกใช้ในการปกป้องโครงสร้างที่สำคัญของร่างกายไม่ให้ถูกทำลายด้วยกรด   ดังนั้น  จึงทำให้อ้วน


         เมื่อสารพิษที่มีความเป็นกรดไม่ถูกกำจัดออกไปมากพอ  ทางปัสสาวะ, อุจจาระ และการหายใจ    อาการคัน, ผื่น, สิว, สะเก็ดเงิน, โรคด่างขาว, งูสวัด, ผิวหนังอักเสบ และฝี อาจเกิดขึ้นได้      อาหารตัวร้ายคือ  อาหารพวกมีรสเผ็ดร้อน  เช่น กระเทียม, พริก, พริกไทย      การที่ร่างกายมีกลิ่นตัวฉุน  ก็เป็นอีกอาการหนึ่งที่บ่งบอกถึง เนื้อเยื่อชั้นใต้ผิวหนังถูกทำลายด้วยสภาวะกรด

         โรคของตับและไต  จะเกิดขึ้น เมื่อมีสภาวะกรดมากเกินที่อวัยวะเหล่านี้จะรับไหว     หากภาวะของไตที่อ่อนแอ  ร่วมกับความดันสูง   อาจทำให้เกิดภาวะ  congestive heart failure (หัวใจล้มเหลว) ได้     นอกจากนี้  ความเป็นกรดอาจก่อให้เกิดกล้ามเนื้อตึง, นอนไม่หลับ และซึมเศร้าได้

         ในกรณีที่ร้ายแรง   กรดสามารถทำลายหลอดเลือด, ทำให้เนื้อเยื่อได้รับอ็อกซิเจนลดลง, เกิดกลายพันธุ์ในระดับเซลล์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มะเร็ง     ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบล   Otto Warburg พบว่าเซลล์มะเร็ง คือเซลล์ปกติที่เมื่ออยู่ภายใต้สภาวะอ็อกซิเจนต่ำ  จะกลายเป็นเซลล์ที่ใช้พลังงานจากการหมักกลูโคส  แทนที่จะเผาผลาญอ็อกซิเจนเพื่อให้ได้พลังงาน     

         ดังนั้น  เซลล์มะเร็งจะไม่สามารถเติบโตในบริเวณที่มีอ็อกซิเจนสูง    การรักษามะเร็งที่ดีที่สุด  คือการเพิ่มการไหลเวียนบริเวณที่เป็นมะเร็งให้ดีขึ้น และทำให้เลือดมีความเป็นด่างเพิ่มขึ้น  เพื่อให้มีอ็อกซิเจนไปกำจัดมะเร็ง และป้องกันการแพร่กระจายของมะเร็ง!

         กระบวนการทำงานทั้งหมดในร่างกาย  ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมภายในที่มีสมดุลย์ของความเป็นด่าง     การที่ร่างกายมีพีเอชในระดับความเป็นกรดเป็นระยะเวลานาน  เส้นเลือดของเราที่มีความยาว 60,000 ไมลส์ จะถูกทำลายอย่างช้าๆ   เหมือนกรดที่เข้ากัดกร่อนหินอ่อน     หากปล่อยไว้  จะมีผลไปรบกวนการทำงานในระดับเซลล์  ตั้งแต่การเต้นของหัวใจ  ไปจนถึงการส่งสัญญาณประสาทในสมอง

         การที่ร่างกายมีสภาวะเป็นกรดมากเกินไป  จะรบกวนการทำงานของสิ่งมีชีวิต  ก่อให้เกิดความเจ็บป่วย และโรคทุกชนิด!

         You are not sick, you’re thirsty!
         ตามข้อมูลที่เกิดจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และทางคลีนิค เป็นเวลากว่า 20 ปี  ในเรื่องประโยชน์ และบทบาทของน้ำที่มีต่อสุขภาพร่างกาย ของ Dr. F. Batmanghelidj MD,    พบว่า น้ำ สามารถบรรเทาอาการต่างๆทางการแพทย์ได้มากมาย     แค่การดื่มน้ำ และปรับการบริโภคเกลือให้เหมาะสม  ก็สามารถช่วยรักษาและป้องกันโรคต่างๆได้นับไม่ถ้วน, หลีกเลี่ยงการใช้ยาแพงๆ และมีสุขภาพดี

         ในหนังสือของเขาที่ชื่อ : “Water: For Health, for Healing, for Life: You’re Not Sick, You’re Thirsty! ”     Dr. F. Batmanghelidj MD ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญ และประโยชน์ของการดื่มน้ำต่อสุขภาพของเรา

         ในมุมมองของเขานั้น   โรคส่วนใหญ่ที่เรียกว่า โรคที่รักษาไม่หายนั้น  ไม่ใช่อะไรเลย  แต่เป็นแค่การขาดน้ำในระดับต่างๆเท่านั้น

“They use of aspirin, acetyl salicylic acid, to thin out the blood. Aspirin interferes with normal platelets aggregation, thus reduce clotting (but it also causes abnormal bleeding). However, according to some the thick blood is due to too much acid, not the aggregation of platelets. None of the trials on aspirin show any benefit in preventing heart attack, such as the two trials reported in the British Medical Journal in 1974 i p 436 and in The Lancet in 1979 ii p 1313. A big study costing $16,000,000 by the National Heart Lung and Blood Institute, reported in JAMA (2/15/80), again showed no heart benefit. Another US trial, called the Physicians’ health Study, used Bufferin. The results, reported in the New England Journal of Medicine (1/28/88), showed no improvement for fatal heart attacks or survival rate. However, non-fatal heart attacks were reduced by 40%, which is most likely due to the neutralization of acids by the magnesium contained in Bufferin. Better results will be achieved if magnesium were used alone. ” Yee-Wing Tong, M.D.

297 Shares