ไวรัสทนพีเอชไม่ได้

         มีเรื่องหนึ่งที่ผู้คนมองข้ามในช่วงการระบาดของโคโรน่าไวรัสก็คือ  ไวรัสทนต่อพีเอชไม่ได้ (pH sensitive)      การเปลี่ยนแปลงสภาพพีเอชในร่างกายของคนไข้ และการใช้วิตามินซีในขนาดสูง  เป็นพื้นฐานการรักษาที่เหมาะสมทั้งคนไข้ที่รักษาตัวอยู่ที่บ้านและในโรงพยาบาล

         นักวิจัยที่โรงพยาบาล Massachusetts General Hospital (MGH) ในอเมริกา ได้ค้นพบ “จุดอ่อน” ของไวรัสเกือบทุกชนิดที่ทำอันตรายต่อมนุษย์โลก      จุดอ่อนของไวรัสที่ว่านั้นก็คือ  พีเอช, แรงดันไฟฟ้าภายในเซลล์ (cell voltage) และระดับออกซิเจนในร่างกาย      พีเอช อีกนัยหนึ่ง เป็นการวัดค่าแรงดันไฟฟ้า (voltage) และความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด (oxygen saturation)      โคโรน่าไวรัส ต้องการพีเอชที่เป็นกรดเล็กน้อยในการเจาะเข้าเซลล์

         การทำให้เลือดและเซลล์มีความเป็นด่างเพิ่มขึ้น  เป็นวิธีการที่ง่ายที่จะลดความเสี่ยงของเซลล์ในการติดเชื้อไวรัส      ความเสี่ยงในการติดเชื้อโคโรน่าไวรัส จะขึ้นกับพีเอชอย่างมาก       โคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ MHV-A59 ค่อนข้างมีความคงตัวที่พีเอช 6.0 (กรด)   แต่จะหมดฤทธิ์อย่างรวดเร็วในพีเอช 8.0 (ด่าง)       Human coronavirus สายพันธุ์ 229E จะมีความสามารถในการติดเชื้อสูงสุดที่พีเอช 6.0       ความสามารถในการติดเชื้อเข้าสู่เซลล์ของโคโรน่าไวรัส A59 ที่พีเอช 6.0 (กรด) มีมากกว่าที่พีเอช 7.0 (กลาง) ถึง 10 เท่า

         มีข้อมูลการวิจัยระบุว่า “การรวมตัวของโคโรน่าไวรัส IBV (Infectious Bronchitis Virus) เข้ากับ host cells จะไม่เกิดขึ้นที่พีเอชกลาง  และกระบวนการรวมตัวของไวรัส – host cells จะถูกกระตุ้นที่พีเอชต่ำ  โดยมีอัตราเร็วในการรวมตัว 50% ของอัตราเร็วสูงสุดที่พีเอช 5.5    มีการรวมตัวน้อยมากหรือไม่มีเลยที่พีเอชสูงกว่า 6.0”

         การเพิ่มสภาวะของพีเอชในร่างกาย (ให้อยู่ในสภาวะด่าง) จะช่วยเพิ่มความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย  คำกล่าวสรุปนี้มาจาก The Royal Free Hospital and School of Medicine in London       เชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของ โรคหลอดลมอักเสบและโรคหวัด จะเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะแวดล้อมที่เป็นกรด   ดังนั้น         การรักษาสภาวะร่างกายให้อยู่ในภาวะด่างอ่อนๆที่พีเอช 6.8-7.2 จึงสามารถช่วยลดความเสี่ยง และลดความรุนแรงของโรคหวัด, เจ็บคอ และไข้หวัดใหญ่ได้

         ถึงแม้ว่าเราจะเพิ่มระดับความเป็นด่างให้กับร่างกายได้  แต่เรายังยังมีโอกาสติดเชื้อไวรัส, แบคทีเรีย และเชื้อราได้ แต่อาการจะไม่รุนแรง      ไวรัสจะติดเชื้อเข้าสู่ host cells ได้โดยการรวมตัวเข้ากับเยื่อหุ้มเซลล์ในภาวะพีเอชต่ำ      ดังนั้น  ไวรัสพวกนี้จึงจัดอยู่ในกลุ่ม “pH-dependent viruses”       

     

                    แสงอาทิตย์ ก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญอันหนึ่งที่ทำให้ไวรัสหมดฤทธิ์ได้ โดยรังสียูวี

                    ไวรัส เจริญเติบโตในที่มืดได้ดีกว่าในที่ที่มีแสงแดด

 

         

          ทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าแรงดันไฟฟ้าของเซลล์ (Cell Voltage), พีเอช และระดับออกซิเจน

         เมื่อไรก็ตามที่ร่างกายมีค่าแรงดันไฟฟ้าต่ำ   เซลล์ในร่างกายจะเริ่มมีปัญหาต่างๆเกิดขึ้น และจะรุนแรงขึ้นเมื่อค่าแรงดันไฟฟ้า (พีเอช) ลดต่ำลง       ยิ่งค่าแรงดันไฟฟ้าลดลง, ค่าพีเอชก็จะลดลง และระดับออกซิเจนก็จะยิ่งลดลง      โรคเรื้อรังต่างๆ ต่างก็เกี่ยวข้องกับการสูญเสียค่าแรงดันไฟฟ้าในเซลล์, ค่าพีเอชในเซลล์ที่ลดลง (อยู่ในภาวะกรด)  รวมทั้งมีระดับ O2 ต่ำ      นี่ก็หมายความว่า เนื้อเยื่อที่มีสภาวะเป็นด่าง มีออกซิเจนอยู่ในระดับสูง

      ในหนังสือ “Healing is Voltage” โดย Jerry Tennant, MD กล่าวว่า “โรคเรื้อรังเกือบทุกชนิดมีลักษณะโดดเด่น คือ ค่าแรงดันไฟฟ้าของเซลล์ต่ำ”

เปรียบเหมือนรถเบนซ์ที่แบตเตอรี่หมด ไปไหนไม่ได้     ร่างกายที่ขาดระบบไฟฟ้าที่ทำงานได้ ก็ทำหน้าที่ได้ไม่ดีเช่นเดียวกัน

 

                 pH (Potential  Hydrogen)

“ จริงๆแล้วเป็นการวัดค่าแรงดันไฟฟ้า(VOLTAGE)”

พีเอช 7.35 เปรียบได้กับค่าแรงดันไฟฟ้า 20 mV

พีเอช 7.45 เปรียบได้กับค่าแรงดันไฟฟ้า − 25 mV

        ดังนั้น  การที่เราอ่านพบว่า เลือดเรามีพีเอชอยู่ระหว่าง 7.35-7.45  นั่นหมายถึงว่า ร่างกายเราถูกออกแบบมาให้ทำงานได้ดีในค่าแรงดันไฟฟ้า − 20 ถึง − 25 millivolts     ค่าแรงดันไฟฟ้าที่ติดลบ หมายถึง อยู่ในภาวะ ให้อีเล็คตรอน (electron donor status)

     

      ตัวอย่างเช่น หากวัดค่าแรงดันไฟฟ้าได้+ 150 millivolts  หมายความว่า    สารละลายนั้นเป็นตัว “แย่ง” อีเล็คตรอน ด้วยกำลัง 150 millivolts 

หากวัดค่าแรงดันไฟฟ้าได้ 200 millivolts หมายความว่า    สารละลายนั้นเป็นตัว “ให้” อีเล็คตรอน ด้วยกำลัง 200 millivolts

61Pv9zEBaqL

         เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะกรด   ค่าแรงดันไฟฟ้าจะลดลง และระดับออกซิเจนในเนื้อเยื่อก็ลดลงด้วย      พีเอช เป็นการวัดระดับ redox potential (OxidationReduction Potential) ในร่างกาย       Redox potential เป็นการวัดว่ามีอีเล็คตรอนเหลือเฟือในระบบหรือไม่ (ภาวะ “electron donors”) หรืออยู่ในภาวะที่ขาดอีเล็คตรอน (ภาวะ “electron stealers”)      อีเล็คตรอนเป็นสิ่งจำเป็นของชีวิต และในการดูแลสุขภาพให้ดี จำเป็นต้องมีอีเล็คตรอนในปริมาณมากในร่างกาย สำหรับใช้ในการซ่อมแซม และการสร้างเซลล์ใหม่

         Dr. David Brownstein ได้เขียนไว้ว่า “ร่างกายมนุษย์มีการกำจัดเซลล์เก่า และเซลล์เสื่อมสภาพอยู่ตลอดเวลา  และทดแทนด้วยเซลล์ใหม่ที่แข็งแรงสุขภาพดี       กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อค่าแรงดันไฟฟ้าของเซลล์อยู่ในระดับที่เหมาะสม       และกระบวนการนี้จะมีประสิทธิภาพดีตอนที่เราอายุน้อย  เมื่ออายุมากขึ้นกระบวนการเหล่านี้ก็ช้าลง      ในร่างกาย (หรือในสารละลาย), ค่าแรงดันไฟฟ้าจะสะท้อนโดยตรงถึงค่าพีเอช ซึ่งเป็นการวัดระดับความเป็นกรดด่างของสารละลาย  โดยมีค่า 1 – 14       ระดับพีเอชของร่างกายมนุษย์ก็เป็นตัวสะท้อนโดยตรงถึงค่าแรงดันไฟฟ้าของเซลล์เช่นเดียวกัน      ค่าพีเอชต่ำ (เป็นกรดมาก) หมายถึงอยู่ในภาวะที่มีแรงดันไฟฟ้าต่ำ      ในทางตรงกันข้าม  ค่าพีเอชสูง (เป็นด่างมาก) หมายถึงอยู่ในภาวะที่มีแรงดันไฟฟ้าสูง

         ปริมาณออกซิเจนในเซลล์ก็ดูได้จากค่าแรงดันไฟฟ้าได้เช่นเดียวกัน      ถ้าเซลล์มีพลังงานไฟฟ้ามากเพียงพอ  ก็จะมีปริมาณออกซิเจนมากพอ      หากเซลล์มีพลังงานไฟฟ้าต่ำ  ปริมาณออกซิเจนในเนื้อเยื่อก็จะต่ำ    และมีผลต่อเมทาบอลิซึมของร่างกายด้วย  เมื่อพลังงานไฟฟ้าและออกซิเจนอยู่ในระดับต่ำ  เมทาบอลิซึมจะเปลี่ยนไปเป็นกระบวนการที่ไม่ใช้ออกซิเจน

34 Shares