พลาสติกถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการเก็บและบรรจุอาหาร และเครื่องดื่ม      มีการนำมาใช้ทำบรรจุภัณฑ์ทั้งแบบใช้ครั้งเดียว และใช้ซ้ำได้, ใช้ทำ plastic wraps (พลาสติกคลุมอาหาร), cut-lery (เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร มีด, ช้อนและส้อม), ใช้ทำขวดน้ำและขวดนมเด็ก พลาสติกนั้นหาง่าย, น้ำหนักเบา, ไม่แตก และไม่แพง      อย่างไรก็ตาม การใช้พลาสติกอย่างแพร่หลายนี้  ทำให้มีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ

ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม :

         พลาสติกส่วนใหญ่ทำจากปิโตรเลียม ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป และส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ       บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกยังก่อให้เกิดขยะโดยไม่จำเป็น      ถึงแม้ว่าพลาสติกจะมีน้ำหนักเบา  แต่ก็เปลืองที่   ต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ในการกำจัดพลาสติก

ปัญหาด้านสุขภาพ :

         การใช้พลาสติกในการประกอบอาหาร และใส่อาหาร  อาจทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้   โดยเฉพาะเมื่อสารเคมีที่รบกวนการทำงานของฮอร์โมนที่มีอยู่ในพลาสติก  รั่วซึมสู่อาหารและเครื่องดื่ม      โรงงานผลิตพลาสติก และโรงงานเผาขยะพลาสติก  เป็นตัวการสร้างมลภาวะทางอากาศและทางน้ำ  และทำให้พนักงานมีความเสี่ยงในการได้รับสารเคมีที่เป็นอันตราย

ฉลากบนภาชนะพลาสติก มีความหมายอย่างไร

         ไม่ใช่บรรจุภัณฑ์ทุกชนิดจะมีฉลากระบุ   และการมีสัญลักษณ์ recycling บนตัวสินค้า  ก็ไม่ได้หมายความว่ามันสามารถนำมารีไซเคิลได้

PETE : Polyethylene terephthalate ethylene  ใช้สำหรับทำภาชนะที่ใช้บรรจุน้ำอัดลม, น้ำผลไม้, น้ำดื่ม, ผงซักฟอก, ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และขวดใส่เนยถั่ว

 

HDPE: High density polyethylene   ใช้ในการผลิตขวดนมพลาสติกทึบ และเหยือกน้ำ, ขวดใส่น้ำยาซักผ้าขาว, ขวดใส่ผงซักฟอกและแชมพู และถุงพลาสติกบางชนิด

 

PVC or V: Polyvinyl chloride   ใช้สำหรับผลิต cling wrap (ฟิล์มพลาสติกบางใสที่ใช้สำหรับห่อหุ้มอาหาร), ขวดพลาสติกชนิดบีบพ่นได้บางชนิด, ขวดใส่น้ำมันพืช และเนยถั่ว, ขวดใส่ผงซักฟอกและน้ำยาเช็ดกระจก

 

LDPE: Low density polyethylene   ใช้ในการผลิตถุงพลาสติกที่ใช้ในร้านของชำทั่วไป, ฟิล์มพลาสติกส่วนใหญ่ที่ใช้สำหรับห่อหุ้มอาหาร และขวดบางชนิด

 

PP: Polypropylene   ใช้ในการผลิต Rubbermaid (กระติกเก็บความเย็น) ส่วนใหญ่, ภาชนะที่ใส่โยเกิร์ต และไซรัป, ซุป, หลอด และภาชนะพลาสติกขุ่นอื่นๆ  รวมทั้งขวดนมเด็ก

 

PS: Polystyrene   ใช้ในการผลิตถาดโฟม, แผงใส่ไข่, ถ้วยชามที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง, ภาชนะใส่อาหารสำหรับทานข้างนอก และช้อนส้อมพลาสติกทึบแสง

 

Other: โดยปกติ คือ polycarbonate (โพลิคาร์บอเนต – พลาสติกที่มีความโปร่งใส และแข็งมาก ต้านทานการขีดข่วนได้ดี)   ใช้ในการผลิตขวดนมส่วนใหญ่, ขวดน้ำขนาด 5 แกลลอน, ขวดน้ำสปอร์ต, ใช้ทำพลาสติกที่ใช้รองอาหารกระป๋อง, ถ้วยหัดดื่มแบบใส และช้อนส้อมพลาสติกใสบางชนิด      พลาสติกชนิดใหม่ๆที่ผลิตจากวัสดุจากธรรมชาติ (bio-based plastics) ก็อาจระบุเป็นหมายเลข#7 เช่นเดียวกัน

PVC: The toxic plastic

         Polyvinyl chloride (พอลิไวนิลคลอไรด์) หรือ vinyl (ไวนิล) หรือ PVC  เป็นพลาสติกที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของเรา      PVC ยังเป็นพลาสติกที่รีไซเคิลได้น้อยที่สุดอีกด้วย

  • คนงานในโรงงาน Vinyl chloride มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเกิดมะเร็งตับ
  • การผลิต Vinyl chloride จะก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศและทางน้ำในบริเวณใกล้ๆโรงงาน  ซึ่งมักจะตั้งอยู่ในบริเวณชนชั้นแรงงาน
  • PVC จำเป็นต้องใส่สารเติมแต่ง (additives) และ สารเพิ่มความคงตัว (stabilizers) เพื่อที่จะสามารถนำมาใช้ได้      ตัวอย่างเช่น  ตะกั่ว (lead) มักถูกเติมลงไปเพื่อเพิ่มความแข็งแรง   ในขณะที่สารพลาสติไซเซอร์ (plasticizers) ถูกเติมลงไปเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น      สารเติมแต่งที่เป็นพิษเหล่านี้  ยิ่งไปเพิ่มมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม และอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์
  • ไดออกซิน (Dioxin) ในอากาศที่ปล่อยออกมาจากการผลิต PVC และจากการเผาผลิตภัณฑ์ PVC  จะตกลงบนทุ่งหญ้า และสะสมอยู่ในเนื้อสัตว์ หรือน้ำนมของสัตว์ที่มากินหญ้า  และในที่สุดก็สะสมอยู่ในเนื้อเยื่อของมนุษย์      Dioxin จัดเป็นสารก่อมะเร็ง    การได้รับในปริมาณต่ำๆ  อาจทำให้ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักตัวต่ำ, ทำให้เกิดปัญหาด้านการเรียนรู้และพฤติกรรมในเด็ก, ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันต่ำ และรบกวนการทำงานของฮอร์โมนในร่างกาย

ข้อควรระวังในการใช้พลาสติกกับอาหาร

    สารเคมีที่ใช้ปิโตรเลียมเป็นจำนวนมากถูกนำเข้าสู่กระบวนการผลิต
พลาสติก       บางชนิดสามารถรั่วซึมลงในอาหารและเครื่องดื่มและ
อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์       การรั่วซึมจะเพิ่มขึ้นเมื่อ
พลาสติกสัมผัสกับอาหารที่มีน้ำมันหรือไขมัน, โดนความร้อนและจากพลาสติกเก่าหรือมีรอยขีดข่วน       ประเภทของพลาสติกที่มีการรั่วซึมของสารเคมีที่เป็นพิษคือ  โพลีคาร์บอเนต, พีวีซีและ สไตรีน       แต่ไม่ได้หมายความว่าพลาสติกชนิดอื่นมีความปลอดภัย       เหตุผล คือพลาสติกเหล่านี้เพิ่งถูกศึกษาเพิ่มเติม  

 

Bisphenol A (บิสฟีนอลเอ – BPA)  : เป็นสารเคมีที่เลียนแบบการทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจนของมนุษย์    สามารถรั่วซึมจากพลาสติกประเภทโพลีคาร์บอเนต      พบว่าผู้คนจำนวนมากได้รับสาร BPA     จากการตรวจพบของศูนย์ควบคุมโรค  พบ BPA ในปัสสาวะ ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใหญ่ที่สุ่มตัวอย่าง 
นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการวัด BPA ในเลือดของหญิงตั้งครรภ์, ในเลือดจากสายสะดือและในรก   ทั้งหมดอยู่ที่ระดับที่สามารถมีผลต่อพัฒนาการในสัตว์ได้

 

      ฮอร์โมนกระตุ้นมะเร็งบางชนิด     Bisphenol A ถูกพบว่ากระตุ้นเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก  และเป็นสาเหตุให้เกิดการปลี่ยนแปลงเนื้อเยื่อเต้านมในหนูที่คล้ายกับระยะแรกของมะเร็งเต้านมทั้งในหนูและคน      การศึกษาหนึ่งพบความสัมพันธ์ระหว่างความผิดปกติของรังไข่และ ระดับที่สูงขึ้นของ BPA ในปัสสาวะ      การได้รับสาร BPA ตั้งแต่อายุยังน้อยอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบพันธุกรรม
นักวิจัยพบว่า การได้รับ BPA ในระดับต่ำๆ   ทำให้โครโมโซมทำงานผิดปกติในหนู   ซึ่งสามารถนำไปสู่การแท้งบุตรและความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด      สำหรับข้อมูลในมนุษย์   มีหนึ่งการศึกษาพบว่าผู้หญิงที่มีประวัติของการแท้งบุตรซ้ำ  มีระดับ BPA ในเลือดมากกว่าผู้หญิงที่ไม่มีประวัติแท้งถึง 3 เท่า      จากการศึกษาในสัตว์ที่ตีพิมพ์ จำนวน 115 การวิจัย  พบว่า 81 เปอร์เซ็นต์ของการวิจัย พบผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ของการสัมผัสกับ BPA แม้ในระดับต่ำ
ในขณะที่การศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนจากทางอุตสาหกรรม 11 เรื่อง  ไม่พบผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ  แต่การศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล  มากกว่า 90% พบผลกระทบดังกล่าว      ผลข้างเคียงเหล่านี้  ได้แก่:

  • เข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าปกติและกระตุ้นพัฒนาการของต่อมน้ำนมในเพศหญิง
    • เกิดการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมในด้านเพศ
    • เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนรวมถึงฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอร์โรนลดลง
    • เพิ่มขนาดต่อมลูกหมาก
    • ลดการผลิตอสุจิ
    • เปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
    • ผลกระทบทางพฤติกรรม  รวมถึงสมาธิสั้น, ความก้าวร้าวเพิ่มขึ้น, การเรียนรู้บกพร่องและการเปลี่ยนแปลงอื่นๆด้านพฤติกรรม

DEHA (di(2-ethylhexyl)adipate) : เป็นหนึ่งในสารพลาสติกไซเซอร์ (plasticizer หรือ softeners) ที่ใช้สำหรับทำให้พลาสติกเกิดความยืดหยุ่น  ที่ผู้คนมีการสัมผัสผ่านอาหาร, น้ำ, อากาศและผลิตภัณฑ์เพื่อผู้บริโภค ในทุกๆวัน
พลาสติกคลุมอาหารที่ทำจาก PVC มี DEHA   ซึ่งสามารถซึมเข้าไปในอาหารเมื่อสัมผัสกับอาหารมัน และเมื่อถูกความร้อน       การสัมผัส DEHA ส่งผลเสียต่อตับ, ไต, ม้าม, การสร้างกระดูกและน้ำหนักตัว       และอาจเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์  โดยส่งผลกระทบต่อตับ   

 

ทารกในครรภ์และเด็กเล็ก
มีความเสี่ยงมากที่สุด
    ภูมิคุ้มกันของเด็กเล็กที่ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์, การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและรูปแบบการกินแตกต่างกัน  ทำให้พวกเขามีความเสี่ยงมากขึ้นต่อการสัมผัสกับพิษ      การสัมผัสสารเคมีเหล่านี้ระยะยาว  หรือการสัมผัสในปริมาณมากในช่วงเวลาที่สำคัญต่อพัฒนาการ   สามารถ
ส่งผลเสียต่อสุขภาพของเด็กได้

 

สไตรีน (Styrene) สามารถรั่วซึมจากพลาสติก โพลีสไตรีน (polystyrene plastic)      สไตรีนเป็นพิษต่อสมองและระบบประสาทในกลุ่มคนงานที่ได้รับการสัมผัสในระยะยาว และ
พบว่ามีผลเสียต่อเซลล์เม็ดเลือดแดง, ตับ, ไต และกระเพาะอาหารในสัตว์ทดลอง      นอกจากการได้รับสารนี้จากภาชนะบรรจุอาหารแล้วเด็กสามารถสัมผัสกับสไตรีนจากการสูดดมควันบุหรี่, แก๊สที่ไหลออกจากอาคาร, ควันไอเสียรถยนต์ และน้ำดื่ม  

 

เคล็ดลับเพื่อความปลอดภัยยิ่งขึ้นอย่างยั่งยืนจากการใช้พลาสติกในอาหาร

1. หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะพลาสติกในไมโครเวฟ
      เนื่องจากสารเคมีจะถูกปล่อยออกมาจากพลาสติกเมื่อถูกความร้อน   ดังนั้น เป็นการปลอดภัยที่สุดที่จะไม่ใช้ไมโครเวฟกับอาหารและเครื่องดื่มในภาชนะพลาสติก      ควรใช้ภาชนะแก้วหรือเซรามิกที่ปราศจากสีของโลหะแทน      ถ้าคุณจะใช้พลาสติกกับไมโครเวฟ   ให้ใช้พลาสติกที่ระบุว่า  “ปลอดภัยสำหรับใช้กับไมโครเวฟ” เท่านั้น      แต่ให้พึงระลึกไว้ว่า “ปลอดภัยสำหรับใช้กับไมโครเวฟ” ไม่ได้หมายความว่าไม่มีการรั่วซึมของสารเคมี     หลีกเลี่ยงการใช้กับอาหารที่มีไขมัน  เนื่องจากมีการรั่วซึมของสารเคมีมากขึ้น ลงในอาหารที่มีไขมัน
2. ระวังการใช้ฟิล์มพลาสติกบางใสที่ใช้สำหรับห่อหุ้มอาหาร  โดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้กับไมโครเวฟ
       ใช้กระดาษแก้ว หรือกระดาษเช็ดมือแทน      หากคุณใช้พลาสติก   อย่าให้พลาสติกสัมผัสกับอาหาร      สำหรับอาหารสำเร็จรูปที่ห่อมาด้วยพลาสติก   ให้ดึงเอาพลาสติกที่สัมผัสกับอาหารนั้นออกไป   และห่อใหม่ด้วยพลาสติกที่ไม่ใช่พีวีซี   หรือวางในภาชนะ

3. ใช้ทางเลือกอื่นแทนบรรจุภัณฑ์พลาสติกทุกครั้งที่เป็นไปได้

      เช่น ใช้ถุงผ้า หรือนำภาชนะบรรจุไปเองจากบ้าน หรือใช้กล่องกระดาษแข็งมาใส่ของที่ร้านขายของชำ 

4. หลีกเลี่ยงน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติก    หรือใช้ให้น้อยที่สุด  เพื่อลดหรือกำจัดการใช้ขวดพลาสติก  และเพื่อลดการฝังกลบขยะพลาสติกให้น้อยที่สุด   ลดปริมาณสารเคมีที่จะรั่วไหลจากพลาสติกสู่สิ่งแวดล้อม


5. ถ้าคุณใช้ขวดน้ำพลาสติก  ควรใช้ความระมัดระวัง       ถ้าคุณใช้ขวดพลาสติกที่ทำจากโพลีคาร์บอเนต      ห้ามใช้ใส่น้ำอุ่นหรือน้ำร้อน และทิ้งขวดเก่า หรือขวดมีรอยขีดข่วนทิ้งไป  เพื่อลดการรั่วซึมของ BPA       ขวดน้ำ
ที่ทำจากพลาสติกในกลุ่ม # 1 หรือ # 2  แนะนำให้ใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น      สำหรับพลาสติกทุกประเภท   คุณจะ
ลดการปนเปื้อนของแบคทีเรียได้ด้วยการล้างให้สะอาดเป็นประจำทุกวัน       อย่างไรก็ตาม  หลีกเลี่ยงการล้างด้วยผลิตถัณฑ์ที่รุนแรง  ที่สามารถทำลายพลาสติกและเพิ่มการรั่วซึมของสารเคมี

 

 

 

 

 

                  ขวดนม

        ไม่ควรใช้ขวดนม และถ้วยหัดดื่มที่ทำจาก โพลีคาร์บอเนต      เนื่องจากอาจมีสาร BPA รั่วซึม และเป็นอันตรายต่อสุขภาพทารก      คุณอาจจะแปลกใจที่รู้ว่า  ขวดนมพลาสติกส่วนใหญ่ และถ้วย “ฝึกดื่ม” หรือ “sippy cups” มากมาย  ทำจากโพลีคาร์บอเนต       แต่โชคดีที่มีทางเลือกอื่น   เช่น ขวดนมที่ทำจากแก้ว, โพลีเอทิลีน หรือโพลีโพรพิลีน      ขวดนมเหล่านี้ ทำจากพลาสติกที่ยืดหยุ่นได้, มีสีน้ำนม และเป็นพลาสติกที่ไม่มีโพลีคาร์บอเนต       ปกติขวดนมจะไม่มีป้ายกำกับว่าผลิตจากพลาสติกชนิดใด   ดังนั้น  หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับประเภทพลาสติกที่ใช้   ให้โทรไปยังหมายเลขของ บริษัท ที่ระบุไว้บนแพคเกจ      

 

ลดการรั่วซึมของ BPA ให้น้อยที่สุดจากขวดนมโพลีคาร์บอเนต

         หากคุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้พลาสติกประเภทโพลีคาร์บอเนต   ตัวอย่างเช่น  หากเป็นขวดเดียวที่ลูกน้อยของคุณยอมใช้ – ให้ทำตามคำแนะนำเหล่านี้:
• ทิ้งขวดนมโพลีคาร์บอเนต และถ้วยฝึกดื่ม ที่มีรอยขีดข่วน      พลาสติกที่แสดงสัญญาณของการสึกหรอ  เช่น มีรอยขีดข่วน หรือมีลักษณะขุ่น  มีรอยแตก  จะมีสารเคมีรั่วซึมออกมามากขึ้น       รอยขีดข่วนยังสามารถเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรียอีกด้วย
• ให้อุ่นอาหารและเครื่องดื่มให้ร้อนก่อน  แล้วปล่อยให้เย็นพอที่จะกินหรือดื่ม   แล้วค่อยใส่ในขวดพลาสติก

 

        จุกขวดนม      มักทำจากซิลิโคน หรือยางลาเทกซ์       หัวนมซิลิโคนมีสีอ่อนกว่าและปลอดภัยกว่า   เนื่องจากหัวนมยาง  อาจมีสารไนโตรซามีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง  รั่วซึมออกมา

กระติกใส่น้ำดื่มของบริษัทอีนาจิก ใช้พลาสติกที่มีความปลอดภัย ปราศจากสาร BPA

        ขนาด 2.2 ลิตร และ 3.8 ลิตร    ผลิตจากพลาสติก PETG  ชนิดเดียวกันกับที่ใช้ผลิตขวดบรรจุภัณฑ์สำหรับใช้บรรจุครีมยี่ห้อดังอย่าง GIORGIO ARMANI      PETG เป็นพลาสติกที่พัฒนาจาก PET ที่ใช้ในการผลิตเป็นขวดน้ำดื่มที่ใช้กันในชีวิตประจำวันทั่วไป      มีคุณสมบัติเชิงกลและเคมีที่โดดเด่น ทั้งยังทนแรงกระแทกได้อย่างดีเยี่ยม   กระติกน้ำของบริษัทอีนาจิคจึงไม่แตกง่าย  มีความแข็งแรง ทนทาน      ปราศจาก BPA

ขนาด 550 มล. และ 1,000 มล.

  1. ผลิตจากวัตถุดิบที่ผ่านการรับรองโดยองค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา (Eastman Tritan Copolyester) และ PCTG
  2. ปราศจาก BPA (Bisphenol A)
  3. สามารถทนอุณหภูมิตั้งแต่ -10 ํC ถึง 100 ํC
  4. ใช้กับเครื่องล้างจานได้
  5. ไม่เหมาะกับใช้ในไมโครเวฟ
0 Shares