สัมภาษณ์ทางทีวีกับ Dr. Koei, Tokyo Women’s Medical University
ผู้ประกาศข่าว A: “ถึงเวลาแล้วสำหรับรายงานพิเศษของเรา คุณเคยได้ยินเกี่ยวกับแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Helicobacter pylori หรือไม่ เป็นทฤษฎีที่มีมาช้านานว่า สาเหตุของแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งทั้งสองอย่างนี้มักพบในคนญี่ปุ่น เกิดจากความเครียดและกรดในทางเดินอาหารที่มากเกินไป อย่างไรก็ตาม แบคทีเรีย pylori นี้เพิ่งถูกระบุว่าเป็นต้นเหตุ”
ผู้ประกาศข่าว B: “ในญี่ปุ่น เราคุ้นเคยกับชื่อ pylori มาก พวกมันไปทำอะไรแย่ๆในท้องเรา?”
นักข่าว: “คุณเคยเห็นแบคทีเรียชนิดนี้ผ่านกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนหรือไม่ พวกมันมีแฟลเจลลีที่มีลักษณะคล้ายหางหลายเส้น และถูกเรียกว่า เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร น่าแปลกใจที่พบว่าแบคทีเรียเหล่านี้ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น”
Dr. Koei มหาวิทยาลัยการแพทย์สตรีโตเกียว
Dr. Koei: “เราเคยคิดว่า แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นนั้น เกิดจากความเครียด หรือภาวะกรดเกินในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ ยา, บุหรี่ และแอลกอฮอล์ ที่กระตุ้นการหลั่งกรด ก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลีย ค้นพบสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า Helicobacter pylori ในกระเพาะอาหาร การวิจัยโดยนักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา และยุโรปในเวลาต่อมายืนยันว่า แบคทีเรียเหล่านี้เป็นสาเหตุของแผลในกระเพาะอาหาร”
นักข่าว: “สมาคมระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้เริ่มศึกษาแบคทีเรียเหล่านี้แล้ว ผลการศึกษาพบว่า แบคทีเรียพบได้ใน 80% ของแผลในกระเพาะอาหาร และ 85 – 90% ของแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น แต่ Helicobacter เหล่านี้ สามารถอาศัยอยู่ในของเหลวที่เป็นกรดรุนแรงของกระเพาะอาหารที่มีค่า pH 1 ถึง 3 ได้อย่างไร?”
Dr. Koei: “คุณสมบัติอย่างหนึ่งของ Helicobacter คือ มันมีเอนไซม์ที่เรียกว่า urease Urease ละลายกรดยูริกในเยื่อบุกระเพาะและสร้างแอมโมเนีย”
นักข่าว: “แอมโมเนียนี้ไปทำปฏิกิริยากับกรดในอวัยวะย่อยอาหาร และทำให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง ทำให้แบคทีเรียมีชีวิตอยู่ได้ สารพิษในเซลล์จากไพโลไร และแอมโมเนียที่แบคทีเรียเหล่านี้สร้างขึ้น ก่อความเสียหายให้กับเยื่อหุ้มเม็มเบรนในร่างกาย
สารเหล่านี้ ร่วมกับอนุมูลอิสระที่เกิดจากปัจจัยในระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดแผล (ulcers) ขึ้น คุณคงคิดว่า ยาปฏิชีวนะจะฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แต่มันไม่ง่ายอย่างนั้น”
Dr. Koei: “ถ้าคุณใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไป อันตรายก็คือเชื้อ Helicobacter pylori ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะอาจเกิดขึ้นได้”
นักข่าว: “แพทย์บอกว่า พวกเขาไม่อยากให้สิ่งที่เกิดขึ้นกับ MRSA เกิดขึ้นอีก”
Dr. Koei: “เราต้องค้นหาวิธีที่สามารถฆ่า Helicobacter โดยไม่สร้างแบคทีเรียที่ดื้อยา”
นักข่าว: “ในระหว่างการทดลองเพื่อค้นหาวิธีกำจัด Helicobacter การรักษาที่น่าทึ่งสำหรับแผล ulcers ได้เกิดขึ้น และถูกนำเสนอต่อสาธารณชนในงานสัมมนา Functional Water Symposium ที่จัดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว มีรายงานว่า แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นลดลงอย่างมาก เมื่อพวกมันถูกล้างด้วยน้ำที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อสูง และ hyperoxidized”
ดร.ฮามาฮาตะ จาก Hamahata Clinic: “เราสามารถตรวจพบแผลในระยะแรกผ่านกล้องเอนโดสโคป นี่เป็นภาพที่ถ่ายหลังจากบำบัดด้วยน้ำ 7 วัน ขนาดของแผลลดลง”
นักข่าว: “เรากำลังเยี่ยมชมคลินิกฮามาฮาตะ ซึ่งอยู่ห่างจากสนามบินคาโกชิม่า 2 ชั่วโมง”
ดร.ฮามาฮาตะ: “ตอนนี้เราอยู่ในหลอดอาหารของคุณแล้ว โอเค ตอนนี้ผมกำลังดูลำไส้เล็กส่วนต้นของคุณอยู่”
นักข่าว: “เมื่อดูตามกระบวนการรักษาแผลด้วยยา คุณจะเห็นพัฒนาการทุกๆ 2 สัปดาห์ และในระยะ S1 ได้เข้าสู่ช่วงของการรักษา”
หมอ: “ตอนนี้ผมกำลังดูแผลอยู่ ดีขึ้นมากแล้ว”
นักข่าว: “แผลของเขาแย่มากเมื่อเดือนที่แล้ว แต่ตอนนี้แผลเล็กลง”
ดร.ฮามาฮาตะ: “ทำไมน้ำไฮเปอร์ออกซิไดซ์จึงดีสำหรับการรักษาแผล ulcers เหตุผลหนึ่งก็คือ เชื่อกันว่า แผล ulcers เกิดจากแบคทีเรียที่เรียกว่า Helicobacter pylori
นักข่าว : หมอใช้น้ำไฮเปอร์ออกซิไดซ์ที่มีค่า pH 2.5 และมีค่ารีดอกซ์อยู่ที่ 1100 มิลลิโวลต์ น้ำนี้จะถูกใส่โดยท่อเพื่อล้างแผลและบริเวณที่เป็นแผลหลายๆ ครั้ง หลังจากล้างทุกครั้ง น้ำจะถูกดูดออก สุดท้าย แผลถูกล้างด้วยน้ำด่างอ่อนๆ ที่เกิดจากกระบวนการอิเล็คโทรไลซิส Helicobacter ถูกฆ่าหรือไม่?”
นักข่าว: “เมื่อคุณดูแบคทีเรียที่บำบัดด้วยน้ำไฮเปอร์ออกซิไดซ์ผ่านกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จะเห็นได้ชัดเจนว่าพวกมันตายแล้ว”
ดร.ฮามาฮาตะ: “นอกจากการรักษาแผลในกระเพาะอาหารแบบเดิมๆ แล้ว เรายังใช้น้ำไฮเปอร์ออกซิไดซ์ล้างแผล ความประทับใจของผมคือ ผู้ป่วยรายนี้จะหายได้เร็วกว่าการรักษาแบบเดิม”
ดร.ฮามาฮาตะ: “นี่เป็นเคสหญิงชราอายุ 81 ปี เธอมาหาเรา และบ่นเรื่องปวดท้อง พบแผลขนาดใหญ่ในบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้น และเลือดก็หยุดไหลแล้ว เรารักษาแผลด้วยน้ำไฮเปอร์ออกซิไดซ์ 1 สัปดาห์ต่อมา แผลขนาดใหญ่กลายเป็นเล็กขนาดนี้”
นี่เป็นเคสชายวัย 69 ปี ป่วยเป็นโรคตับ เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เขายังมีแผลในลำไส้เล็กส่วนต้นขนาดใหญ่ซึ่งแพร่กระจายลึกเข้าไปในอวัยวะ นี่คือ 1 สัปดาห์ หลังการบำบัดด้วยน้ำไฮเปอร์ออกซิไดซ์ จะเห็นได้ว่า แผลปิดแล้ว การรักษาที่น่าทึ่งนี้เกิดขึ้นในเวลาเพียง 1 สัปดาห์”
นักข่าว: “การนำเสนอการบำบัดน้ำไฮเปอร์ออกซิไดซ์นี้ สร้างความประทับใจอย่างมากให้กับผู้ที่เข้าร่วมการประชุมสัมมนา Functional Water Symposium”
นักข่าว: “ในโรงพยาบาลนี้ ใช้น้ำอิเล็กโทรไลซ์อัลคาไลน์ด้วย คุณดื่มวันละกี่แก้ว”
คนไข้ (หญิงชรา): “ฉันดื่มหลายแก้ว ท้องของฉันดีขึ้นแล้ว ฉันแทบจะกินอะไรไม่ได้เลย ก่อนที่จะมาที่นี่ แม้แต่ข้าวต้มก็ไม่อร่อย แต่ตอนนี้ฉันมีความอยากอาหารกลับมาแล้ว ขอบคุณคุณหมอ , ฉันรู้สึกดีขึ้นแล้วตอนนี้.”
นักข่าว: “เมื่อเทียบกับการรักษาด้วยยาทั่วไป การบำบัดแผล ulcers ด้วยน้ำไฮเปอร์ออกซิไดซ์ เพิ่งมีการใช้มาไม่นาน และนี่เป็นโรงพยาบาลแห่งเดียวที่มีการบำบัดด้วยน้ำนี้สำหรับแผล ulcers ผู้ป่วยบอกว่า พวกเขาพอใจกับมัน และดูเหมือนว่าพวกเขาจะหายขาดเร็วขึ้น”
ผู้ประกาศข่าว A: “คุณคงคิดว่า น่าจะเป็นการดีที่จะดื่มน้ำไฮเปอร์ออกซิไดซ์นี้ ใช่ไหม แต่พวกเขาบอกว่า คุณไม่สามารถกำจัดแบคทีเรีย pylori ในกระเพาะอาหารได้ด้วยวิธีนี้”
ผู้ประกาศ : “ได้เวลาสำหรับรายงานพิเศษ กล้องเอนโดสโคปเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ขาดไม่ได้สำหรับการตรวจภายในของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น เนื่องจากแบคทีเรียที่มองไม่เห็นเหล่านี้เกาะติดกับอวัยวะภายในของมนุษย์ จึงต้องดูแลทำความสะอาดและ ฆ่าเชื้อกล้องเอนโดสโคปอย่างดี ตามปกติแล้ว สารเคมีฆ่าเชื้อจะใช้ในการฆ่าเชื้อกล้องเอนโดสโคป แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ ความสนใจมุ่งเน้นไปที่น้ำไฮเปอร์ออกซิไดซ์ ซึ่งเกิดจากกระบวนการอิเล็คโทรไลซิส เราติดตามเรื่องราวต่างๆ ที่เผยให้เห็นว่า น้ำนี้มีประสิทธิภาพในการเป็นยาฆ่าเชื้อได้ดีเพียงใด”
ดร.ฮามาฮาตะ คลินิกฮามาฮาตะ: “ดูจากแผลแล้ว ดูดีขึ้นกว่าเดิมเยอะเลย”
นักข่าว: “กล้องเอนโดสโคปเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการค้นหาบริเวณที่ติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ตลอดจนการตรวจโรค”
นักข่าว: “มีความเสี่ยงเสมอที่แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ภายในร่างกายของผู้ป่วย รวมทั้งเชื้อ Helicobacter pylori ซึ่งเพิ่งได้รับการเผยแพร่ ว่าเป็นสาเหตุของแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น สามารถแนบตัวเองกับกล้องเอนโดสโคปได้ในระหว่างการใช้งาน ดังนั้น ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่งในการฆ่าเชื้ออุปกรณ์หลังการใช้งานแต่ละครั้ง “
Dr. Sakurai: “โดยทั่วไป กล้องเอนโดสโคปจะถูกฆ่าเชื้อในของเหลวสีเหลืองอมเขียว ซึ่งเป็นสารละลายกลูตาราลดีไฮด์ 2% ซึ่งเป็นยาฆ่าเชื้อที่ทรงพลังที่สุด ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสได้หลากหลาย รวมถึงเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร, ไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสเอดส์”
Dr. Sakurai ศูนย์ส่องกล้องที่โรงพยาบาล Kanto Teishin: “Glutaraldehyde ได้รับการแนะนำโดย Endoscope Society สำหรับการฆ่าเชื้อเอนโดสโคป โดยต้องแช่ในสารละลายนี้ครั้งละมากกว่า 20 นาที”
นักข่าว: “สารเคมีนี้มีปัญหาอยู่สองอย่าง อย่างแรกคือ ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีการตรวจคนไข้จำนวนมากทุกวัน มันใช้เวลานานเกินไปในการทำความสะอาด ประการที่สอง มันเป็นพิษสูงและจัดว่าเป็นสารพิษร้ายแรง”
Dr. Sakurai: “สารตกค้างของสารเคมีนี้ในกล้องเอนโดสโคป ก็ทำให้เกิดความกังวล และยังมีราคาแพงอีกด้วย ความกังวลอีกประการหนึ่งคือ การใช้สารเคมีนี้อาจทำให้ผิวหนังอักเสบ หรือเกิดอาการแพ้ในพนักงานของเรา”
นักข่าว: “จุดศูนย์กลางของความสนใจคือ น้ำที่สร้างขึ้นจากการเติมเกลือเล็กน้อยลงในน้ำประปาและกระแสไฟฟ้า ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อเช่นเดียวกับกลูตาราลดีไฮด์ แต่เร็วกว่า และไม่เป็นพิษ โรงพยาบาลต่างๆ ใช้น้ำนี้ฆ่าเชื้อกล้องเอนโดสโคป”
กล้องเอนโดสโคปแช่ในน้ำไฮเปอร์ออกซิไดซ์
พยาบาล: “หลังจากที่เราใช้กล้องเอนโดสโคปแล้ว อากาศจะถูกขับออกในภาชนะที่มีน้ำไฮเปอร์ออกซิไดซ์อยู่ ทำให้ดันสิ่งที่ติดอยู่ภายในท่อออก จากนั้นน้ำไฮเปอร์ออกซิไดซ์จะถูกดึงกลับเข้าไป”
นักข่าว: “หลังจากที่ได้พัฒนาความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ำที่เป็นด่างและไฮเปอร์ออกซิไดซ์ แพทย์ของคลินิกฮามาฮาตะในจังหวัดคาโงชิมะ จึงใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติเหล่านี้เป็นอย่างดี โดยใช้ประโยชน์จากน้ำแต่ละชนิด”
ดร.ฮามาฮาตะ: “น้ำไฮเปอร์ออกซิไดซ์ถูกใส่ที่ส่วนปลายและ extractor ของกล้องเอนโดสโคป”
นักข่าว: “แบคทีเรียมักจะถูกพบที่บริเวณปลาย และบริเวณ extractor”
ดร.ฮามาฮาตะ: “จากนั้นเราล้างมันด้วยน้ำอัลคาไลน์สูง ที่ละลายโปรตีน เลือด และของเหลวในกระเพาะอาหารออก จากนั้นเราก็แช่ในน้ำไฮเปอร์ออกซิไดซ์ มีข้อมูลเพียงพอที่สนับสนุนความจริงที่ว่า น้ำไฮเปอร์ออกซิไดซ์ สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสได้เกือบทุกชนิด มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อในทันที”
นักข่าว: “สุดท้าย พวกเขาล้างกล้องเอนโดสโคปด้วยน้ำประปา เวลาทำความสะอาดทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 5 นาทีเท่านั้น มีการรายงานคุณสมบัติของน้ำฆ่าเชื้อนี้ที่งานประชุม Functional Water Symposium ที่จัดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว”
หมอ: “เราเพาะเชื้อแบคทีเรียจากปลายกล้องเอนโดสโคปและ extractor ไม่พบแบคทีเรียเลย”
Dr. Sakurai: “คุณจะรู้สึกว่ามีอะไรใหญ่ๆ กำลังเข้ามาในตัวคุณ ตอนนี้มันชนเข้ากับคุณนิดหน่อย”
นักข่าว: “ที่โรงพยาบาล Kanto Teishin เดิน 8 นาทีจากสถานี Gotanda ในโตเกียว พวกเขาเริ่มใช้น้ำไฮเปอร์ออกซิไดซ์นี้ในการทำความสะอาดกล้องเอนโดสโคปเมื่อ 3 ปีที่แล้ว”
Dr. Sakurai: “เราตรวจคนไข้มากถึง 40 คนต่อวัน ยิ่งเราใช้เวลาทำความสะอาดกล้องเอนโดสโคปมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งมีประสิทธิภาพน้อยลงเท่านั้น เราทำการวิจัยร่วมกับแพทย์ท่านอื่นๆ เพื่อหาวิธีที่ประหยัดเวลาและปลอดภัยที่สุด .”
นักข่าว: “เมื่อมีข่าวเกี่ยวกับน้ำฆ่าเชื้อนี้ คนแรกในวงการแพทย์ที่รวบรวมทีมวิจัยเพื่อทดสอบคือ ดร. โอคาดะ ผู้อำนวยการฝ่ายตรวจทางคลินิก”
ดร.โอคาดะ: “ผู้อำนวยการแผนกเอนโดสโคปแนะนำว่า ให้ใช้น้ำนี้ทำความสะอาดกล้องเอนโดสโคป เราทดลองดูดน้ำไฮเปอร์ออกซิไดซ์ 10 มล., 30 มล. และ 50 มล. ผ่านกล้องเอนโดสโคป เราพบว่า ด้วยน้ำ 50 มล. อัตราการฆ่าเชื้อแบคทีเรียจะสูงที่สุด มันวิเศษมากที่สามารถใช้น้ำนี้ในการฆ่าเชื้อได้อย่างสมบูรณ์ “
นักข่าว: “พวกเขาแสดงให้ฉันเห็นถึงกระบวนการฆ่าเชื้อในปัจจุบัน หลังจากใช้งาน กล้องเอนโดสโคปจะเต็มไปด้วยสิ่งสกปรกและแบคทีเรีย ขั้นแรก ล้างด้วยน้ำประปา และ extractor จะถูกถอดออกจากกล้องเอนโดสโคป และแช่ในน้ำไฮเปอร์ออกซิไดซ์ที่เข้มข้น”
Dr. Sakurai: “extractor จะถูกพักไว้เพื่อแช่ในน้ำไฮเปอร์ออกซิไดซ์ การทำความสะอาดภายใน extractor ด้วยแปรงเป็นสิ่งสำคัญ เลือด, ของเหลวในกระเพาะอาหาร และอื่นๆ จะถูกขูดออกจากด้านในด้วยวิธีนี้ให้มากที่สุด”
นักข่าว: “ชิ้นส่วนทั้งหมดจะถูกแช่ในน้ำไฮเปอร์ออกซิไดซ์เป็นเวลา 10 วินาที จากนั้นน้ำไฮเปอร์ออกซิไดซ์ 50 ซีซีจะถูกฉีดเข้าไปในช่อง และถูกดูดกลับออกมา”
Dr. Sakurai: “น้ำไฮเปอร์ออกซิไดซ์จะถูกดูดเข้าไปในช่อง extractor เพื่อฆ่าเชื้อ การเพาะเชื้อตรวจสอบ แสดงให้เห็นว่า ไม่มีแบคทีเรีย”
ดร.โอคาดะ: “นอกจากนี้ เรายังเพาะเชื้อแบคทีเรียเพื่อค้นหาเชื้อ Helicobacter pylori และผลก็คือแบคทีเรียนี้ถูกกำจัดหมดด้วยน้ำนี้ ส่วนผลข้างเคียงของน้ำไฮเปอร์ออกซิไดซ์ เราคิดว่ามันไม่เป็นอันตรายเลย”
นักข่าว: “Dr. Sakurai และทีมงานของเขาที่ศูนย์เอนโดสโคป เขียนรายงานในวารสารทางการแพทย์ที่ระบุว่า การใช้น้ำไฮเปอร์ออกซิไดซ์ในการทำความสะอาดกล้องเอนโดสโคป เป็นวิธีที่ง่ายต่อการจัดการ, มีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว พวกเขายังตั้งข้อสังเกตอีกว่า การสึกหรอของอุปกรณ์น้อยกว่าการฆ่าเชื้อแบบทั่วไป และเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการตรวจทางคลินิกที่ดำเนินการในแต่ละวัน”
นักข่าว: “ในช่วงเวลานี้ เมื่อจำนวนของศัตรูที่ทรงพลังเช่น Helicobacter pylori, hepatitis B และ AIDS virus เพิ่มขึ้น จำเป็นต้องหาวิธีที่สมบูรณ์แบบในการฆ่าเชื้อเอนโดสโคป”
ผู้ประกาศข่าว A: “จากมุมมองของผู้ป่วย เราต้องการวิธีการที่ปลอดภัยและแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนื่องจากแบคทีเรียและไวรัสไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า”