Enagic Kangen Rice Project "Electrolyzed Water Rice Farming"

         Acidic Electrolyzed Water ได้รับการรับรองว่าเป็น “a disignated harmless agricultural chemical” (สารเคมีที่ใช้ในทางเกษตรโดยปราศจากอันตราย) โดยกระทรวงเกษตร ป่าไม้เเละประมง และกระทรวงสิ่งแวดล้อม ในเดือนมีนาคม ปี 2014      สารเคมีที่ใช้ในทางเกษตรโดยปราศจากอันตราย หมายถึง  เมื่อพิจารณาถึงสารตั้งต้นที่ใช้ผลิต  จึงทำให้แน่ใจว่าไม่ทำอันตรายต่อผลผลิตต่างๆ, มนุษย์, ปศุสัตว์, สัตว์น้ำ และพืช      หมายความว่ารัฐบาลญี่ปุ่น ได้รับรองว่า Acidic Electrolyzed Water  มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย  โดยไม่มีอันตรายต่อคน, สัตว์ และสิ่งแวดล้อม      หลังการรับรองดังกล่าว Acidic Electrolyzed Water ได้ชื่ออย่างเป็นทางการโดยรัฐบาลว่า “Hypochlorous Acid Water”  

ครอบครัว Ido ทำหน้าที่รับผิดชอบนาข้าวในจังหวัดคางาว่า

         เป็นเวลากว่า 11 ปี ที่ Acidic Electrolyzed Water ได้ยื่นสมัครเพื่อขอการรับรอง    โดยมีสารเคมีอื่นๆอีก 2,900 ชนิดที่ยื่นสมัครเพื่อขอการรับรองจากรัฐบาลเช่นเดียวกัน  ซึ่งมีเพียง 5 ชนิด (รวมทั้ง Acidic Electrolyzed Water) ที่ผ่านการรับรองจากรัฐบาล      ตลอดระยะเวลากว่า 11 ปี ที่   The Japanese Electrolyzed Water Association (JEWA) ซึ่งบริษัทอีนาจิคเป็นสมาชิกอยู่  ต้องคอยตอบคำถาม และทำตามข้อเรียกร้องของกระทรวงทั้งสอง  ในการขอข้อมูลและหลักฐานเพิ่มเติม  จนในที่สุด Acidic Electrolyzed Water ก็ได้รับการรับรองจากรัฐบาล

         เกษตรกรผู้รับผิดชอบ Kangen Rice Project นี้ คือคุณ Toshihiro อายุ 73 ปี และบุตรชาย คุณ Tetsuya Ido อายุ 48 ปี ที่จังหวัดคางาว่า  ภูมิภาคชิโกะคุ      ทีมสองพ่อลูกนี้มีประสบการณ์สูงในการทำนาข้าวเป็นอย่างดี

การฆ่าเชื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยน้ำ Acidic Electrolyzed Water

         เมล็ดพันธุ์ข้าวจะถูกแช่ในน้ำเอซิดิกอิเล็คโทรไลซ์เพื่อฆ่าเชื้อเป็นเวลาประมาณ 6 ชั่วโมง   ซึ่งปกติเกษตรกรจะใช้แช่ในสารเคมีทางการเกษตร (ยาฆ่าเชื้อ, ยาฆ่าแมลง) เป็นเวลากว่า 12 ชั่วโมง      ต้นข้าวที่ฆ่าเชื้อด้วยน้ำเอซิดิกอิเล็คโทรไลซ์จะมีรากที่เติบโตได้มั่นคงแข็งแรงกว่าต้นข้าวที่ฆ่าเชื้อด้วยสารเคมี

แช่เมล็ดพันธุ์ข้าวใน acidic electrolyzed water เพื่อฆ่าเชื้อ

เพื่อเร่งกระบวนการงอก   เมล็ดพันธุ์ข้าวจะถูกเก็บไว้ในห้องควบคุมอุณหภูมิที่ 32 ํC

เมื่อต้นกล้ามีขนาด 2-3 ซม.  จะถูกนำมาฆ่าเชื้ออีกครั้งด้วย acidic electrolyzed water

6

ต้นกล้าจะถูกย้ายมาดูแลที่โรงเรือนจนกว่าจะมีความสูงประมาณ 12 ซม.

ต้นกล้าจากโรงเรือน ถูกย้ายลงมาปลูกในนาข้าว (ข้าวรุ่นแรกปลูกเมื่อ 10 เมษายน)

LeveLuk Super501 ถูกนำมาใช้ในการผลิต Electrolyzed Water

Super501 ถูกติดตั้งในโรงนา ใกล้กับถังเก็บน้ำ

         ในการปลูกข้าว   เรื่องที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่ง คือ  การฆ่าเชื้อเมล็ดพันธุ์ข้าว      วันที่ 10 เมษายน  สามารถนำต้นกล้าชุดแรกมาปลูกในนาข้าว (เร็วกว่าต้นกล้าที่แช่เมล็ดพันธุ์ในสารเคมีเกือบ 1 เดือน)      พอปลายเดือนพฤษภาคม  ต้นข้าวที่ปลูกในนาที่ใช้น้ำอิเล็คโทรไลซ์ (นาข้าว A) สูงประมาณ 30 ซม. (โตขึ้นมาถึง 20 ซม. ในช่วงเวลา 40 วัน)      

เปรียบเทียบนาข้าวที่ใช้สารเคมี และนาข้าวที่ใช้ Electrolyzed Water

         ก่อนที่จะนำต้นกล้ามาปลูกในนาข้าว      ต้นข้าวจะต้องผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อตั้งแต่เป็นเมล็ดพันธุ์  โดยใช้ Acidic Electrolyzed Water ที่ผลิตจากเครื่อง LeveLuk Super501 เท่านั้น  โดยไม่ได้ใช้สารเคมีทางการเกษตรใดๆอื่นๆเลย      เมื่อเปรียบเทียบระหว่างนาข้าว A (ใช้น้ำอีเล็คโทรไลซ์)  กับนาข้าว B (ใช้สารเคมี)    ต้นข้าวในนาข้าว A เติบโตได้ดีและมั่นคงงอกงามกว่านาข้าว B อย่างชัดเจน

Chapter4

LeveLuk Super501 ใช้ในการผลิต Acidic Electrolyzed Water เพื่อฆ่าเชื้อเมล็ดพันธุ์ข้าว

ต้นข้าวในนาที่ปลูกเมื่อเดือนเมษายน   โตถึงเกือบ 50 ซม. ในเดือน มิ.ย.

นาข้าว A (ซ้าย)  ต้นข้าวจะปลูกห่างกันมากกว่าต้นข้าวในนาข้าว B (ขวา)

ข้าวในนาที่ปราศจากสารเคมี มีวัชพืชขึ้น

นาข้าวที่ไม่ใช้สารเคมี (ซ้าย) มีวัชพืชขึ้น   ส่วนนาข้าวที่ใช้สารเคมี (ขวา) ไม่มีวัชพืชขึ้นเลย

         ในนาข้าว B ที่ใช้ยาฆ่าหญ้า  ไม่มีวัชพืชขึ้นเลย      ในทางตรงข้าม  นาข้าว A ที่ใช้เพียงน้ำอิเล็คโทรไลซ์  จะมีวัชพืชขึ้น  จึงเป็นการยืนยันความปลอดภัยในการใช้น้ำอิเล็คโทรไลซ์

มีวัชพืชอยู่ที่รากของต้นข้าวในนา A (บน)   ในขณะที่รากของต้นข้าวในนา B (ล่าง)ไม่มีวัชพืชเลย

ต้นข้าว 25 ต้น เก็บจากนา A (บน)  เปรียบเทียบกับต้นข้าว 41 ต้นที่เก็บจากนา B (ล่าง)

         เมื่อเราเปรียบเทียบขนาดของรากต้นข้าว   พบว่าต้นข้าวจากนา A มีรากที่ใหญ่ และมีปริมาณมากกว่ารากของต้นข้าวจากนา B       ต้องใช้แรงถอนต้นข้าวในนา A ด้วยแรงที่มากกว่าต้นข้าวในนา B      แสดงให้เห็นว่า ต้นข้าวในนา A มีรากที่หยั่งลึก ฝังแน่นกว่าต้นข้าวในนา B

Kangen Rice งอกงามได้ดี แม้ในสภาพอากาศที่ผิดปกติ

         ในช่วงครึ่งเดือนหลังของเดือนกรกฎาคม   อากาศเริ่มแปรปรวน   แสงแดดเริ่มเบาบางลง   ฝนตกนานขึ้น  มีพายุและไต้ฝุ่นกระหน่ำเกาะญี่ปุ่นอย่างหนัก      ทำให้การเก็บเกี่ยวล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็น      สิ่งที่เห็นชัดเจนในระหว่างนาข้าวทั้งสอง คือ เรื่องการจัดการวัชพืช ซึ่งเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในระหว่างที่เก็บเกี่ยวข้าวคังเก้น      ในขณะที่นาข้าวที่ใช้สารเคมี ไม่มีความจำเป็นต้องจัดการกับวัชพืช  เนื่องจากไม่มีวัชพืชขึ้นในนาที่ใช้ยาฆ่าหญ้า

         แต่สิ่งที่น่าแปลกก็คือ  ในนาที่ใช้น้ำอิเล็คโทรไลซ์   ปรากฏว่า มีต้นข้าวงอกขึ้นใหม่จากตอที่ได้เก็บเกี่ยวไปแล้วในนาเดิม   ทำให้มีการทำนาได้สองครั้ง  ซึ่งเป็นสิ่งที่พบไม่บ่อยในญี่ปุ่น

ต้นข้าวในนาข้าวคังเก้น โตไปพร้อมกับวัชพืช  แม้ในสภาพอากาศผืดปกติ

นาข้าวที่ใช้ยาฆ่าหญ้า  ไม่มีวัชพืชขึ้นเลย

นาข้าวที่ใช้ยาฆ่าหญ้า เก็บเกี่ยวโดยไม่ต้องกำจัดวัชพืช

ต้นข้าวคังเก้นงอกขึ้นใหม่จากตอเดิม  หลังจากที่เก็บเกี่ยวไปแล้วเพียงเดือนครึ่ง

ไม่พบสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในข้าวคังเก้นเลย จากจำนวนสารเคมีที่ส่งตรวจสอบทั้งหมด 250 ชนิด

         ความปลอดภัยในการใช้น้ำอิเล็คโทรไลซ์ในการทำนา  ได้ถูกพิสูจน์ยืนยันทางวิทยาศาสตร์   โดยข้าวคังเก้นจะถูกส่งตรวจสอบที่ศูนย์วิจัยสภาวะแวดล้อม (จังหวัดอิบารากิ) และไม่พบสารเคมีตกค้างเลยทั้ง 250 ชนิด  รวมทั้ง DDT

         หลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว    ข้าวคังเก้นจะผ่านเครื่องมือพิเศษแยกออกเป็นข้าวกล้องและแกลบ      หลังจากผ่านการคัดแยกคุณภาพ และกำจัดสิ่งปนเปื้อนออก  จะถูกส่งไปสู่กระบวนการอบแห้ง เพื่อลดความชื้นให้เหลือประมาณ 15%      หลังจากนั้นข้าวกล้องจะถูกบรรจุลงในถุงขนาด 1 ตัน  และถูกส่งไปที่โรงสี และบรรจุหีบห่อ

         บริษัทที่ทำหน้าที่สีข้าวและบรรจุหีบห่อ คือ Kuriya (จังหวัดคางาวะ)  เป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการมาเป็นระยะเวลานานกว่า 134 ปี      ข้าวคังเก้นจะถูกสี, ตรวจสอบ, ชั่งน้ำหนัก และบรรจุหีบห่อแบบสูญญากาศ  ก่อนส่งออกจำหน่ายสู่ผู้บริโภค      บริษัท Kuriya ก็ใช้มาตรการในการรักษาความสะอาดด้วยการใช้น้ำอิเล็คโทรไลซ์เพื่อฆ่าเชื้อและทำความสะอาดในโรงงานเช่นเดียวกัน

ผลการตรวจสอบสารเคมีตกค้างโดยศูนย์วิจัยสภาวะแวดล้อม   “ไม่พบสารตกค้างทั้ง 250 ชนิด”

เครื่องบรรจุหีบห่อของบริษัท Kuriya  ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยน้ำอิเล็คโทรไลซ์