H2 กลายเป็นก๊าซทางการแพทย์ได้อย่างไร

         อันดับแรกย้อนกลับไปเมื่อเกือบ 500 ปีที่แล้ว  ไฮโดรเจนถูกค้นพบโดยบังเอิญโดยคนที่ชื่อ Philippus Aureolus Paracelsus (แพราเซลซัส)   หนึ่งในการทดลองของเขาเกี่ยวกับกรดและโลหะ   เขาสังเกตเห็นก๊าซไวไฟลึกลับที่เกิดจากการทดลอง    ต่อมาปี 1766 เมื่อนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ Henry Cavendish (เฮนรี คาเวนดิช) แยกไฮโดรเจนได้  และเรียกว่าเป็นอากาศไวไฟ  ซึ่งจะก่อตัวเป็นน้ำขึ้นเมื่อเกิดกระบวนการเผาไหม้ (combustion)   แต่อากาศไวไฟนี้  ก็ยังไม่ได้รับการตั้งชื่อ       จนถึงปี ค.ศ. 1783 เมื่อ Antoine Lavoisier (อ็องตวน-โลร็อง เดอ ลาวัวซีเย)   ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งเคมีสมัยใหม่   ใช้คำภาษาฝรั่งเศส  “hydrogene” (ไฮโดรจีน)   เพื่ออธิบายก๊าซนี้      คำนี้ที่มาจากคำภาษากรีก   hydro หมายถึงน้ำ  และ gene หมายถึง การก่อตัว หรือการสร้าง    ดังนั้น  โดยพื้นฐานแล้วไฮโดรเจนหมายถึง  การสร้างน้ำ

         ในปี ค. ศ. 1888    วารสาร Annals of Surgery ได้ตีพิมพ์ข้อมูลหลักฐานที่เชื่อมโยงไฮโดรเจนกับยา    โดยอ้างถึงงานของ Dr. Nicolas Senn ซึ่งในเวลานั้นใช้ H2 กับลำไส้      ต่อมาในปี ค. ศ. 1943   มีการใช้ก๊าซไฮโดรเจนเป็นครั้งแรกใน การดำน้ำในทะเลลึก  โดยวิศวกรชาวสวีเดนชื่อ  Arne Zetterstrom   ซึ่งเป็นกระแสที่มาแรงในสหรัฐฯในช่วงทศวรรษที่ 60    เมื่อกองทัพเรือสหรัฐฯใช้ก๊าซผสมที่เรียกว่า Hydreliox    พวกเขาสังเกตเห็นว่า  มันสามารถบรรเทาอาการ decompression sickness {(DCS) หรือ Bend เป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายมีฟองก๊าซไนโตรเจนสะสมมากเกินไป }ได้   และสามารถดำน้ำได้ลึกยิ่งขึ้นในขณะที่หายใจเอาก๊าซผสมนั้นเข้าไป    พวกเขายังใช้มันด้วยความเข้มข้นที่สูงมากถึง 98.87% H2, 1.26% O2 ที่ 19.1 ATM   โดยมีผลเสียต่อเซลล์น้อยที่สุด หรือไม่มีเลย      สิ่งนี้มีความสำคัญเนื่องจากช่วยแสดงให้เห็นว่า H2 มีความปลอดภัยสูง  แม้จะใช้ที่ความเข้มข้นสูงมาก      ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น  แต่กระแสความนิยมเกี่ยวกับ H2 เงียบมาก   จนกระทั่งปี 2007   มีสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับ H2 เพียง 50 ฉบับ   และในปี 2007 นี้เอง   วารสาร Nature Medicine  ซึ่งเป็นวารสารที่มีชื่อเสียงมากในด้านการแพทย์   ได้ตีพิมพ์การศึกษาเกี่ยวกับ H2 และคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ

 

        บทความนี้อธิบายว่า H2 ทำงานในการกำจัดอนุมูลอิสระที่เป็นพิษต่อเซลล์  ที่เรียกว่า hydroxyl radical อย่างเฉพาะเจาะจง      สิ่งนี้ทำให้เกิดงานวิจัยไฮโดรเจนอีกมากมายตามมา    ตั้งแต่นั้นมามีงานวิจัยที่ตีพิมพ์มากกว่า 600 ชิ้น เกี่ยวกับ H2 ที่ใช้ในทางการแพทย์  ซึ่งรวมถึงการวิจัยในโรคของมนุษย์มากกว่า 170 งานวิจัย  และกำลังมีงานวิจัยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว      ประเทศในเอเชีย  เช่น จีน, ญี่ปุ่น และเกาหลี ในทุกวันนี้   มีคลินิกที่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามารถเข้ารับการบำบัดด้วย H2 และได้รับผลลัพธ์ที่น่าทึ่ง       H2 มีศักยภาพอย่างมากสำหรับการใช้งานทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับโรคเรื้อรังต่างๆ      มีคำกล่าวว่า  การตลาดจะล้าหลังวิทยาศาสตร์ 10 ปี    ดังนั้น  คุณลองคิดดูว่า  ปี 2017 เป็นปีที่ไฮโดรเจนบูม    ในความคิดของคุณ   คุณคิดว่าจะใช้เวลานานแค่ไหนกว่าการแพทย์ปัจจุบันในประเทศไทยจะยอมรับ H2 มาใช้ในทางการแพทย์

1 Shares